วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พฤติกรรมทำลายสมอง

ความรู้เกี่ยวกับ  :  พฤติกรรมทำลายสมอง
โดย : นางสาวเนตรยา  วุฒิพันธ์
หน่วยงาน  สำนักงานคลังเขต ๙
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)           
คุณ  กมลทิพย์  พุฒคง
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
พฤติกรรมทำลายสมอง
สมอง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหวและความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ แต่คนเรามักไม่รู้ตัวเองว่าพฤติกรรมบางอย่างที่กระทำลงไป นอกจากจะเป็นการทำร้ายร่างกายไม่พอ ยังทำร้ายสมองด้วย

นิสัย 10 อย่าง ที่ทำให้สมองพัง
1. ไม่ทานอาหารเช้า  หลายคนคิดว่าไม่ทานอาหารเช้า แล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่นี่จะเป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองเสื่อม
2.  กินอาหารมากเกินไป  การกินมากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความจำสั้น
3.  การสูบบุหรี่  เป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองฝ่อ และโรคอัลไซเมอร์
4.  ทานของหวานมากเกินไป  การกินของหวานมาก จะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง
5.  มลภาวะ  สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะเข้าไป จะทำให้ออกซิเจนในสมองลดปริมาณลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง
6.  การอดนอน  การนอนหลับจะทำให้สมองได้พักผ่อน การอดนอนเป็นเวลานาน จะทำให้เซลล์สมองตาย
7.  การนอนคลุมโปง  การนอนคลุมโปงจะเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
8.  ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย  การทำงานหรือเรียนในขณะที่กำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง เหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว
9.  ขาดการใช้ความคิด  การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ
10. เป็นคนไม่ค่อยพูด  ทักษะการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง
 

เทคนิค ฝึกสมองไบรท์
1. จิบน้ำบ่อย ๆ
สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2. กินไขมันดี
คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4. ใส่ความตั้งใจ
การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน
ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal
ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึก ๆ
สมองใช้ออกชิเจน 20- 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %
การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

10 เทคนิคจัดการเวลาในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด



10 เทคนิคจัดการเวลาในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผู้แบ่งปัน                     
คุณศุภมาศ  ยั่งยืน                                 
นักวิชาการคลังปฏิบัติการ กองแผนงาน
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
คุณกมลวรรณ  สุสุทธิพงศ์  นักวิชาการคลังชำนาญการ

10 เทคนิคจัดการเวลาในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1. กำหนดเป้าหมายและทำให้สำเร็จ
เรื่องแรกที่ควรเข้าใจ คือ ไม่มีกฎตายตัวในการบริหารจัดการเวลา แต่การวางเป้าหมายและมุ่งมั่นทำให้สำเร็จนั้น จะช่วยได้มาก โดยเริ่มจากตั้งเป้าหมายระยะสั้นและยาวในสิ่งที่ฝันไว้ กำหนดรายละเอียดและเส้นตายที่ทำได้จริง การขีดเส้นตายเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมันจะช่วยให้คุณเห็นจุดหมายปลายทางความสำเร็จว่าไม่ได้อยู่ไกลเกินไป และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ด้วย

2. จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ
ถ้าคุณหวังจะทำงานให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดละก็ อย่าให้ความสำคัญของทุกเรื่องเท่าเทียมกัน จงเตรียมลิสต์งานที่ต้องทำให้เสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จัดลำดับเรื่องด่วนและสำคัญอยู่บนสุด และตามด้วยเรื่องอื่นๆ

3. โฟกัสเฉพาะเรื่องที่ควบคุมได้
ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะร้องไห้คร่ำครวญในสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ เพราะคุณไม่มีทางห้ามดวงอาทิตย์ไม่ให้ลับขอบฟ้า หรือหยุดเวลาไว้ไม่ให้เดิน แต่คุณสามารถควบคุมสิ่งที่ทำหรือคิดได้ตลอดเวลาทั้งวัน ลองนึกถึงวันที่เจ้านายเรียกทุกคนมาบอกว่า ปีนี้ไม่มีการขึ้นเงินเดือน เนื่องจากโดนผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก เชื่อแน่ว่า พนักงานทุกคนคงรู้สึกแย่ๆ แต่นั่นเป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุมของคุณหรือใครๆ ฉะนั้น แทนที่จะมานั่งเสียเวลาเป็นทุกข์ ควรเอาเวลามาคิดว่า “จะหารายได้เสริมจากไหน” ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า


4. รู้จักตัวเองและสภาพแวดล้อม
อาจฟังดูงงๆ แต่การจะทำประโยชน์ให้ได้มากที่สุดในแต่ละวัน คุณต้องรู้จักตัวเองดีเสียก่อน ว่าช่วงเวลาไหนที่คุณกระฉับกระเฉง มีเรียวแรง และตั้งใจทำงานมากที่สุด หรือช่วงไหนที่หมดแรงและไม่อยากทำงานเลย ลองค้นหาช่วงเวลาที่คุณทำงานได้ดีที่สุด และใช้เวลานั้นทำงานสำคัญๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลงานได้อย่างทันตาเห็น

5. ทำงานหรือกิจกรรมหลายอย่างไปพร้อมกัน
มีงานหรือกิจกรรมหลายอย่างที่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ถ้าต้องใช้เวลาเดินทางบนรถโดยสาร 1 ชั่วโมง จากบ้านไปที่ทำงาน อาจใช้เวลานั้นทบทวนรายงานที่ต้องเสนอในที่ประชุมตอนเช้า หรือฟังเพลงขณะอาบน้ำ ทานข้าวเย็นร่วมกับเพื่อนฝูง ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเวลาแล้ว ยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายด้วย

6. มอบงานให้คนอื่นทำแทน
คำแนะนำข้อนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนอื่นต้องเข้าใจเสียก่อนว่า คุณไม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเองได้ทุกเรื่อง จงให้เวลากับงานชิ้นสำคัญที่ต้องลงรายละเอียด และเรียนรู้ที่จะมอบหมายงานที่สำคัญน้อยกว่าให้คนอื่นทำแทน โดยต้องไตร่ตรองอย่างสุขุม รอบคอบ และด้วยความระมัดระวังเสียก่อน

7. ฝึกคิดบวกให้มากๆ
ในแต่ละวันที่ต้องทำงานร่วมกับคนมากมาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียด และหมกมุ่นกับความคิดด้านลบ เช่น กังวล โกรธ เสียใจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะกัดกร่อนทั้งเวลา และสุขภาพกายใจไปทีละน้อย แต่การฝึกคิดด้านดีหรือคิดบวก แล้วทำตามนั้น เป็นคุณสมบัติของคนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น

ภัยเงียบที่เกิดจากการกินอาหารจากกล่องโฟม















ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
คุณสร้อยสุฎา  อินตา
ตำแหน่ง :  นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ สำนักงานคลังเขต 1
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
คุณอิมรอน  กระจ่างพัฒน์
ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

ความรู้เกี่ยวกับ : ภัยเงียบที่เกิดจากการกินอาหารจากกล่องโฟม
ช่วงนี้อากาศร้อนถ้าจะให้ซื้อข้าวรับประทานตามร้านริมทางท่ามกลางไอแดดเห็นทีจะนั่งเช็ดเหงื่อกันไม่ไหวง่ายที่สุดคือสั่งอาหารใส่กล่องโฟมเข้าไปรับประทานในที่ทำงานติดแอร์เย็นๆ หรือแม้กระทั่งหลังเลิกงานแล้วข้าวกล่องก็เป็นอาหารที่หาซื้อได้สะดวกที่สุด จะเลือกเมนูไหนก็ตักใส่กล่อง ราคาก็ถูก ประหยัดเวลาทำอาหารเองรับประทานเสร็จก็ไม่ต้องล้าง ท่ามกลางความสะดวกสบายกล่องโฟมก็แฝงไปด้วยภัยเงียบ
นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมให้ความรู้ว่ากล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป (Styrofoam) เป็นของเสียเหลือทิ้งสีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วยสารสไตรีน (Styrene) มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) ในเพศหญิง
อาหารตามสั่งที่บรรจุกล่องโฟมจึงเป็นแหล่งสะสมสารสไตรีนซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง  สมองเสื่อมง่ายหงุดหงิดง่ายมีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และเป็นสารก่อมะเร็งอีก 3 ชนิด
ถ้าเป็นผู้ชายรับประทานเข้าไปมากๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม และทั้งสองเพศมีโอกาสสูงต่อการเป็นมะเร็งตับ แม้จะไม่ได้ดื่มแอลกฮอล์เป็นประจำก็ตาม สำหรับสไตรีนถือเป็นสารอันตรายที่สหรัฐเพิ่งประกาศขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง หญิงมีครรภ์ที่รับประทานอาหารบรรจุในกล่องโฟมลูกมีโอกาสสมองเสื่อมเป็นเอ๋อ อวัยวะบางส่วนพิการ ส่วนคนทั่วไปถ้ารับประทานอาหารกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า

ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟมได้ง่ายถึง 5 ปัจจัย ได้แก่
1.อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
2.ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
3.ถ้าซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นานๆไม่ได้รับประทาน อาหารจะดูดสารสไตรีนได้มาก
4.ถ้านำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก 
5.ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมากๆ รวมถึงร้านไหนตัดถุงพลาสติกใสรองอาหารขอบอกว่าได้รับ       สารก่อมะเร็ง 2 เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว
นพ.วีรฉัตร เตือนว่าอาหารตามสั่ง หรือข้าวราดแกงที่มักมาคู่กับไข่ดาว หรือไข่เจียวร้อนๆ   ขอเตือนว่า ไข่ดังกล่าวจะไปละลายผนังกล่องโฟม เสมือนรับประทานอาหารคลุกสไตรีนไปด้วย ถึงกระนั้นไข่ดิบที่วางขายในแผงไข่พลาสติก สารสไตรีนมีโอกาสวิ่งเข้าในเปลือกไข่ได้เช่นกัน ถ้าเลือกไข่ดิบควรเลือกซื้อจาก แผงไข่กระดาษจะปลอดภัยที่สุด มนุษย์ข้าวกล่องอย่ามัวซื้อความสะดวกสบายจนลืมใส่ใจสุขภาพของตัวเอง   ถ้ายอมให้ร่างกายเริ่มสะสมสไตรีนตั้งแต่วันนี้รับรองวันหน้าหนีไม่พ้นมะเร็งตัวร้ายเป็นแน่

กล่องชานอ้อยปลอดภัย
มีคำแนะนำจากคุณหมอ ให้ผู้บริโภคสร้างสุขนิสัยการบริโภคใหม่เลี่ยงซื้ออาหารจากกล่องโฟมเปลี่ยนไปใช้ภาชนะทำจากไบโอชานอ้อยแทน จะนำเข้าเตาไมโครเวฟก็ได้และทนต่ออาหารที่มีอุณหภูมิสูงๆได้ ที่สำคัญไร้สารก่อมะเร็งไม่มีผลต่อระบบฮอร์โมนและระบบประสาท กล่องไบโอชานอ้อยย่อยสลายตามธรรมชาติได้ในเวลา 45 วัน ต่างจากโฟมที่ใช้เวลาย่อยสลาย 1,000 ปี พลาสติกที่ใช้เวลา 450 ปี สำหรับคนที่รักสุขภาพเลือกรับประทานผักปลอดสารพิษ แต่ตักใส่กล่องโฟมคุณค่าอาหารก็ไม่มีเหลือเช่นกันดังนั้นควรเลี่ยงกล่องโฟมเป็นดีที่สุด