วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กฎหมายที่ข้าราชการควรรู้


กลุ่มงานแผนงานและงบประมาณ กองแผนงาน กรมบัญชีกลาง
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
นางสาวกาญจนา  ดิสระ 
ตำแหน่ง: นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นางสาวนัฎฐ์ณภัทร  นิลละออ 
ตำแหน่ง: นักวิชาการคลังปฏิบัติการ

ความรู้เกี่ยวกับ : กฎหมายที่ข้าราชการควรรู้  

กฎหมาย หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

ข้าราชการ  หมายถึง  คนที่ทำราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ เป็นต้น (ความหมาย ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)



กฎหมายที่ข้าราชการควรรู้มีกฎหมายและมาตราที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
 ๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
 มาตรา ๓๑ ก.พ.ค. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
               (๑) เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือ องค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากร บุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
         (๒) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔
               (๓) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๓
         (๔) พิจารณาเรื่องการคุมครองระบบคุณธรรมตามมาตรา ๑๒๖
               (๕) ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎ ก.พ.ค. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
               (๖) แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
 มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้
               (๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
               (๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
               (๓) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้ แก่ตนเองหรือผู้อื่น
               (๔) ต้องไม่ประมาทเลินเลอในหน้าที่ราชการ
               (๕) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
               (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงาน คล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ่นส่วนหรือบริษัท
               (๗) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
               (๘) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
               (๙) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ
 มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ และ มาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย
 มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
   (๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
   (๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง
   (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
   (๔) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
   (๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
          (๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
          (๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
          (๘) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ วรรคสอง และมาตรา ๘๒ (๑๑) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ (๑๐) ที่มีกฎ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย
         โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้
  (๑) ภาคทัณฑ์  
         (๒) ตัดเงินเดือน  
         (๓) ลดเงินเดือน  
         (๔) ปลดออก  
         (๕) ไล่ออก
มาตรา ๑๒๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับของใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวด
มาตรา ๑๒๓ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ตามลำดับ
                การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบ การปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.
                เมื่อ ก.พ.ค. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค.
๒. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๙ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
                (๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไวสำหรับการ กระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขึ้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
         (๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
         (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
         (๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
         (๕) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำ หรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
         (๖) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
๓. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้


ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๖ ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐมิได้
๔. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๔๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๘ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
                คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย
                การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองเว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๔๕ ให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย
                ถ้าเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว        
มาตรา ๔๖ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครองได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครอง และอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระหรือลดภาระหรือใช้ดุลพินิจแทนในเรื่องความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครองหรือมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้
มาตรา ๔๗ การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น สำหรับกระบวนการพิจารณาให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ หมวด ๒ นี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายดังกล่าว
มาตรา ๔๘ คำสั่งทางปกครองของบรรดาคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทสิทธิการอุทธรณ์และกำหนดเวลาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
๕. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
“ข้อมูลข่าวสารของราชการ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๔  และมาตรา  ๑๕  หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้   ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
      (๑) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
      (๒) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา  ๗ (๔)
      (๓) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
      (๔) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
      (๕) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา  ๗ วรรคสอง
      (๖) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
        (๗) มติคณะรัฐมนตรี  หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
มาตรา ๑๔ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันจะเปิดเผยมิได้
มาตรา ๑๕ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ  ประโยชน์สาธารณะ  และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน
     (๑) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
   (๒) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ  หรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้  ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ  หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
   (๓) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด  แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ  รายงานข้อเท็จจริง  หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
   (๔) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
   (๕) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
     (๖) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย  หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น
                   กฎหมายข้างต้นนี้ เป็นเพียงกฎหมายที่ข้าราชการควรต้องรู้ไว้ หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
                   ดังนั้น ข้าราชการนอกจากจะต้องปฏิบัติงานโดยยึดหลักกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้แล้ว สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ ข้าราชการต้องทำงานด้วยคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง การทำงานและการประพฤติตน ที่เป็น“คุณ” และเป็น “สิ่งดีงาม” และปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ หากข้าราชการใดที่ทำงานบนพื้นฐานของความมีคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นบุคคลที่มีจิตใจที่เหนือกว่า กฎหมายใด ๆ กำหนด

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์จับมือปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี



หน่วยงาน : กลุ่มงานความตกลงระหว่างประเทศ 1
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
นายเอกพันธ์ สินสกลวัฒน์
ตำแหน่ง :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นางสาวสุภาภรณ์ พานิชวงษ์
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
ความรู้เกี่ยวกับ  : อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์จับมือปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี
รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ประกาศใช้พิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความ ตกลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 คาดหวังผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ทางภาษีมากขึ้น และยินดี
ที่ออสเตรเลียกับ นิวซีแลนด์สนับสนุนงบประมาณโครงการความร่วมมือออกไปถึงปี 2561
ผลการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรี เศรษฐกิจ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ครั้งที่ 20
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2558 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศ มาเลเซีย ซึ่งที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย- นิวซีแลนด์โดยจะเริ่มใช้พิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลง AANZFTA ในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ยกเว้นประเทศ กัมพูชาและอินโดนีเซียที่จะเริ่มใช้ในปี 2559 ซึ่งที่ประชุมคาดหวังว่าพิธีสารฉบับนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้ ประโยชน์ทางภาษีของความตกลงฉบับนี้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตในหลายประเทศของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เนื่องจากจะสามารถใช้วัตถุดิบร่วมกันได้ ทั้งนี้พิธีสารดังกล่าว มีสาระสําคัญ คือ การใช้กฎถิ่นกําเนิดสินค้าที่สอดคล้องกับการปรับปรุงพิกัดอัตรา ศุลกากรครั้งล่าสุด และแสดงพิกัดอัตราศุลกากรทุกรายการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหารายละเอียดของ สินค้าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีการแก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการ ต้องสําแดงมีน้อยลง นอกจากนี้ผู้ประกอบการไม่จําเป็นต้องแจ้งราคาสินค้า (FOB Price หรือราคาสินค้า ณ ท่าเรือ ต้นทาง) หากสินค้าดังกล่าวไม่ได้ผลิตโดยการสะสมมูลค่าถิ่นกําเนิด ซึ่งจะช่วยในการรักษาความลับทางธุรกิจของผู้ประกอบการและเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าในปัจจุบัน ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ยังได้หารือเกี่ยวกับ โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ความตกลง AANZFTA และให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาสนับสนุน ด้านงบประมาณจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพื่อดําเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ภายใต้ความตกลง AANZFTA ออกไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2561 โดยออสเตรเลียได้สนับสนุนเงินงบประมาณเพิ่มเติมสําหรับโครงการความร่วมมือ ดังกล่าวแก่อาเซียนจํานวน 3.7 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (ประมาณ 96 ล้านบาท) นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เอกสารประเมินผลดังกล่าว เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ ได้รับจากการจัดทําความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน ออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ความตกลง AANZFTA เป็นความตกลงที่มีคุณภาพสูง ครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีและการสร้างเสริมศักยภาพการแข่งขันด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มีการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาค เพิ่มมากขึ้น โดยอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์จะมีการหารืออย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงความตกลงฉบับนี้ให้ทันสมัยและอํานวยความสะดวกทางการค้าแก่ผู้ประกอบการเพิ่มยิ่งขึ้นอีกในอนาคต เช่น การจัดทํา
กฎถิ่นกําเนิดสินค้าให้ทันสมัย การปรับปรุงข้อบทการค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขัน เป็นต้น ความตกลง AANZFTA มีผลบังคับใช้มากว่า 5 ปี 7 เดือน โดยมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับประเทศภาคี ความตกลง AANZFTA (อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ขยายตัวจาก 70,444 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 เป็นมูลค่า 118,689 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2557 (เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 63.67) และในปี 2557 ไทยเป็นฝ่าย ได้ดุลการค้ามูลค่า 19,594 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.31)
ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยขอใช้สิทธิ ประโยชน์ในการส่งออกตามความตกลงนี้ในปี 2557 มีมูลค่า 478.02 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 24.20) ขณะที่มีการขอใช้สิทธิประโยชน์
ในการนําเข้าตามความตกลงนี้ในปี๒๕๕๗ มีมูลค่า ๓๑.๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ ๕๕.๙๕)



ที่มา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (www.dtn.go.th)