วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กินอาหารเช้าตามกรุ๊ปเลือด สุขภาพดีอย่างไม่น่าเชื่อ


สำนักงานคลังเขต 1
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
นางบุญนำ  คำไกล
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นางสุณี  มีแสงพราว
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
ความรู้เกี่ยวกับ : กินอาหารเช้าตามกรุ๊ปเลือด สุขภาพดีอย่างไม่น่าเชื่อ
มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน เราจึงต้องพิถีพิถันในการเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง แต่รู้หรือไม่ หากเราเลือกและเลี่ยงทานอาหารให้เหมาะกับกรุ๊ปเลือดของตัวเอง จะช่วยเสริมสร้างสมดุล
ที่ดีที่สุดและทำให้สุขภาพดีอย่างไม่น่าเชื่อเลย
กรุ๊ปเลือด A
คนกรุ๊ปเลือดA จะไม่ค่อยมีเอนไซม์และกรดในกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการย่อยโปรตีน
จากเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง จึงควรหันมาทานเนื้อสัตว์ ประเภทเนื้อปลาและเนื้อไก่แทน และเน้นทานอาหารประเภทโปรตีนให้มากขึ้นในมื้อเช้าและลดปริมาณลงในมื้อเย็น ที่สำคัญอย่าลืมเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเพื่อช่วยให้ระบบ
ย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นด้วย
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : ทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อไก่และเนื้อปลา เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน ปลากะพง เพราะย่อยง่ายเหมาะกับคนกรุ๊ปเอที่สุด
2.ผักผลไม้ : เน้นทานผักใบเขียวและใบเหลืองอย่างฟักทอง แครอท ผักโขม บร็อคโคลี่ และพืชตระกูลถั่วให้มากๆ โดยเฉพาะถั่วเหลืองซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูงและยังช่วยลดปัญหาเรื่องของ
กรดในกระเพาะอาหารต่ำอีกด้วย
3.เครื่องดื่ม : นมถั่วเหลือง นมแพะ หรือโยเกิร์ตไขมันต่ำ แทนนมวัวที่คนกรุ๊ปนี้ย่อยไม่ค่อยได้
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : อาหารสำเร็จรูปประเภทไส้กรอกหรือแฮมเพราะมีสารประกอบไนเตรทอยู่มาก สามารถกระตุ้น
การเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารซึ่งมีกรดในกระเพาะอาหารต่ำ และเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยและชีส ทำให้คนกรุ๊ปเลือดนี้แน่นท้องได้
2.ผักผลไม้ : แตงโม แคนตาลูป มะม่วง มะละกอ กล้วย ส้ม เพราะย่อยยาก
3.เครื่องดื่ม : นมวัวและโซดาทำให้กรุ๊ปเลือดเอรู้สึก แน่นท้องเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ส่วนชาสมุนไพรจะไปเพิ่มกรดในกระเพาะ
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวต้มไก่ ข้าวต้มปลากระพง ปลานึ่งเต้าเจียว แซนด์วิชสลัดปูอัด แซนด์วิชทูน่า น้ำใบเตย น้ำผักโขม น้ำนมข้าวโพด


กรุ๊ปเลือด B
กรุ๊ปเลือดที่แสนโชคดี เพราะ เป็นกรุ๊ปเดียวที่สามารถทานอาหารประเภท นมวัว เนย และไข่
ได้ตามปกติ ยกเว้น เนยแข็งรสเข้มเพราะจะย่อยยาก นอกจากนั้นยังทานเนื้อสัตว์ได้หลากหลาย และผัก ผลไม้
ก็ทานได้หลายชนิด โดนเฉพาะผักใบเขียว
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : เนื้อแกะ ไก่งวง และปลาน้ำลึก เช่น ปลาหิมะ ปลาจาระเม็ด ปลาตาเดียว ปลาแซลมอน และอาหารจำพวกนมเนยไข่ ให้ประโยชน์อย่างมากต่อกรุ๊ปเลือดบี
2.ผักผลไม้ : ผัก ผลไม้ให้ผลดีเกือบทุกชนิด ควรรับประทานมากผักมากๆ เพื่อป้องกันโรคที่มาจากเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นง่ายในคนกรุ๊ปเลือดบี
3.เครื่องดื่ม : ชาสมุนไพรที่ให้ประโยชน์คือ ขิง เปปเปอร์มิ้นต์ โสม ชาเขียว
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : หลีกเลี่ยง เนื้อหมู ไก่ หอยเชลล์ กุ้ง ปู หอยแครง เพราะจะรบกวนระบบในร่างกาย
2.ผักผลไม้ : หลีกเลี่ยงมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ ข้าวโพด เพราะมีเลคติคซึ่งไปก่อกวนระบบย่อย
ขัดขวางระบบเผาผลาญแคลอรีและระดับน้ำตาลในเลือด และถั่วต่างๆ ไม่ดีต่อคนกรุ๊ปเลือดบี โดยเฉพาะ
ถั่วลิสง
และงา ซึ่งจะรบกวนระบบอินซูลิน ที่จะทำให้เกิดการลดน้ำตาลในเลือดเฉียบพลัน
3.เครื่องดื่ม : หลีกเลี่ยงน้ำมะเขือเทศ น้ำข้าวโพด นมถั่วเหลือง
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวผัดกระเทียมห่อไข่ ไข่กระทะ สปาเกตตี้ซอสแดงใส่ไก่สับ ไข่ตุ๋นญี่ปุ่น แพนเค้กกล้วยหอม คอร์นเฟลก น้ำผลไม้
กรุ๊ปเลือด O
กระเพาะของคนกรุ๊ปเลือดโอมีความเป็นกรดสูง ทำให้เหมาะกับอาหารประเภทเนื้อแดงหลายชนิด แต่นมวัว และชีสแทบทุกชนิดจะย่อยยากสำหรับคนเลือดกรุ๊ปโอ ที่สำคัญที่สุดคือ ควรงดการรับประทานแป้งสาลี เพราะเลคติน ในแป้งสาลีจะทำปฏิกิริยาที่เป็นผลเสียและรบกวนระบบเผาผลาญของร่างกาย
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : ทานเนื้อได้แทบทุกชนิด เน้นปลาและอาหารทะเลเพิ่มแคลเซียมซึ่งร่างกายไม่ได้รับจากนมวัว และเพิ่มไอโอดีนเพื่อประโยชน์ของฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมักจะไม่คงที่
2.ผักผลไม้ : บร็อคโคลี่ สปินิช คะน้า สับปะรด พลับ พรุน ผักกาดคอส (ในซีซาร์สลัด) ปวยเล้ง บร็อคเคอลี หอมหัวใหญ่ และสาหร่ายทะเล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญอาหาร
3.เครื่องดื่ม : น้ำสับปะรด หรือน้ำแบลคเชอรี่ จัดว่าเป็นน้ำที่ดีกับเลือดกรุ๊ปโอมาก เพราะช่วยลดการระคายเคืองของกระเพาะ
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : หมู ห่าน แฮม นมและผลิตภัณฑ์จากนมให้บริโภคแต่น้อย เพราะร่างกายจะย่อยได้ยาก
2.ผักผลไม้ : ผักจากพวกกะหล่ำ ที่จะมีผลต่อระบบไทรอยด์ เห็ดหอม มะเขือยาว มันฝรั่งและข้าวโพดไม่ดีต่อกรุ๊ปเลือด ควรเลี่ยงส้มและเกรปฟรุต เพราะทำให้กระเพาะระคายเคือง
3.เครื่องดื่ม : กาแฟ จะเพิ่มกรดในกระเพราะอาหารที่มีมากอยู่แล้ว
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวผัดกระเทียม ข้าวต้มกุ้ง ผัดตำลึงปลาสับ น้ำสับปะรด น้ำแบลคเชอรี่ น้ำข้าวกล้องงอก
กรุ๊ปเลือด AB
คนกรุ๊ปเลือดเอบีเป็นพวกลูกผสมคล้ายกับกรุ๊ปเอ ตรงที่มีกรดในกระเพาะต่ำ ต้องรับประทานผักมาก ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เหมือนกรุ๊ป บี ตรงที่รับประทานเนื้อสัตว์ได้ ยกเว้นไก่แต่ต้องไม่บ่อยนัก สำหรับกรุ๊ปเอบี มะนาวช่วยย่อยและล้างระบบลำไส้ได้ แนะนำว่าควรเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยการดื่มน้ำอุ่นที่บีบมะนาวสักครึ่งซีก
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : อาหารทะเล เช่น ปลาเทราต์ ปลาซาร์ดีน ปลาเก๋า ปลาทูน่า สามารถกิน นม เนย ไข่และ
โยเกิร์ตไขมันต่ำได้
2.ผักผลไม้ : ผักสดกินได้แทบทุกชนิด สำหรับผลไม้นั้น องุ่น พลัม ตระกูลเบอร์รี่ สับปะรด ส้มโอ ช่วยสร้างความสมดุลของกรดในเนื้อเยื่อ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จะส่งผลดีต่อร่างกายในแง่ป้องกัน
3.เครื่องดื่ม : ชาคาโมมายล์และชาเขียวช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : อาหารสำเร็จรูปประเภทไส้กรอกและแฮมซึ่งมีสารประกอบไนเตรต์เช่นเดียวกับคนกรุ๊ป เลือดเอ และเลี่ยงทานเนื้อวัวเนื้อหมูและปลาแซลมอนรมควัน เพราะย่อยยากและเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร
2.ผักผลไม้ : ผลไม้เมืองร้อน เช่น มะม่วง กล้วย ฝรั่ง และมะพร้าว เพราะย่อยยาก ส่วนผลไม้ตระกูลส้มจะทำให้กระเพาะของคนกรุ๊ปนี้ระคายเคือง และงดทานถั่วแดง งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ข้าวโพด เพราะจะชะลอการทำงานของอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงเฉียบพลัน
3.เครื่องดื่ม : ไม่ควรบริโภค คาเฟอีนมากเกินไป เพราะจะไปกระตุ้นให้ร่างกาย หลั่งสารอะดรีนาลีน ซึ่งกรุ๊ปเลือดนี้มีมากอยู่แล้ว
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวต้มทะเล ข้าวไข่ข้นมะเขือเทศ เฟรนช์โทสต์ น้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ น้ำส้มคั้น

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน

หน่วยงาน สำนักงานคลังเขต ๕
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
นางสาวศุภลักษณ์  มูลสมบัติ >>>>>
ตำแหน่ง :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นายคีรีวัฒน์  จันทร์มณี >>>>>
ตำแหน่ง: นักวิชาการคลังชำนาญการ
ความรู้เกี่ยวกับ : ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน          
เนื่องจากสถานศึกษามีรายการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้น ทำให้ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนตามที่กรมบัญชีกลางเคยกำหนดไว้หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 21  ลงวันที่  13  กุมภาพันธ์  2557 และหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 80  ลงวันที่  8  เมษายน  2557 ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้แก่ผู้มีสิทธิ กรมบัญชีกลางจึงยกเลิกประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนดังกล่าว และกำหนดประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนใหม่ ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257  ลงวันที่  28  มิถุนายน  2559 โดยให้ถือปฏิบัติตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญที่แตกต่างไปจากเดิม คือ ไม่มีการกำหนดรายการเป็นข้อยกเว้น และปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสถานศึกษาของทางราชการและสถานศึกษาของเอกชน ดังต่อไปนี้
ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ
1.ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน 5,800 บาท
2.ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน 4,000 บาท
3.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน 4,800 บาท
4.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน                 4,800 บาท
5.ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน       13,700 บาท
6.ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษาละไม่เกิน               25,000 บาท
เงินบำรุงการศึกษา ที่ให้เบิกจ่ายจะต้องเป็นเงินประเภทต่างๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กำกับมหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล
ประเภทและอัตราเงินค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชน
สถานศึกษาของเอกชนประเภทสามัญศึกษา
1.สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน
(1) ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า                      13,600 บาท
(2) ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า              13,200 บาท
(3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า     15,800 บาท
(4) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า     16,200         บาท
2. สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน
(1) ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า                       4,800 บาท
(2) ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า               4,200 บาท
(3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า      3,300 บาท
(4) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า      3,200 บาท
สถานศึกษาของเอกชนประเภทสามัญศึกษา
1.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
1.1สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้
(1)คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์             16,500 บาท
(2)พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ              19,900 บาท
(3)ศิลปะหัตกรรม หรือศิลปกรรม             20,000 บาท
(4)เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์              21,000 บาท
(5)ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม      24,400 บาท
(6)ประมง                                                      21,100 บาท
(7)อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว                      19,900 บาท
(8)อุตสาหกรรมสิ่งทอ                              24,400 บาท
1.2สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้
(1)คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์               3,400 บาท
(2) พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ                5,100 บาท
(3) ศิลปะหัตกรรม หรือศิลปกรรม                3,600 บาท
(4) เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์                5,000 บาท
(5) ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม        7,200 บาท
(6) ประมง                                        5,000 บาท
(7) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว                5,100 บาท
(8) อุตสาหกรรมสิ่งทอ                        7,200 บาท
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้
(1) ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมเทคโนโลยี 30,000 บาท
สารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนศาสตร์
(2) พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรม 25,000 บาท
หรือศิลปกรรม เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์
คหกรรม หรือคหศาสตร์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
สำหรับรายละเอียดของสาขาวิชาตามประเภทวิชาหรือสายวิชาของหลักสูตรที่กำหนดดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้สถานศึกษาเอกชนทำการเปิดสอนในสาขาวิชานั้น ๆ
3. หลักสูตรระดับปริญญาตรี
ให้เบิกจ่ายได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียน ปีการศึกษาละไม่เกิน    25,000 บาท

ค่าเล่าเรียน ที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือมหาวิทยาลัย