วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน

หน่วยงาน สำนักงานคลังเขต ๕
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
นางสาวศุภลักษณ์  มูลสมบัติ >>>>>
ตำแหน่ง :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นายคีรีวัฒน์  จันทร์มณี >>>>>
ตำแหน่ง: นักวิชาการคลังชำนาญการ
ความรู้เกี่ยวกับ : ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน          
เนื่องจากสถานศึกษามีรายการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้น ทำให้ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนตามที่กรมบัญชีกลางเคยกำหนดไว้หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 21  ลงวันที่  13  กุมภาพันธ์  2557 และหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 80  ลงวันที่  8  เมษายน  2557 ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้แก่ผู้มีสิทธิ กรมบัญชีกลางจึงยกเลิกประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนดังกล่าว และกำหนดประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนใหม่ ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257  ลงวันที่  28  มิถุนายน  2559 โดยให้ถือปฏิบัติตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญที่แตกต่างไปจากเดิม คือ ไม่มีการกำหนดรายการเป็นข้อยกเว้น และปรับเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสถานศึกษาของทางราชการและสถานศึกษาของเอกชน ดังต่อไปนี้
ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ
1.ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน 5,800 บาท
2.ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน 4,000 บาท
3.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน 4,800 บาท
4.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน                 4,800 บาท
5.ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน       13,700 บาท
6.ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษาละไม่เกิน               25,000 บาท
เงินบำรุงการศึกษา ที่ให้เบิกจ่ายจะต้องเป็นเงินประเภทต่างๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กำกับมหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล
ประเภทและอัตราเงินค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชน
สถานศึกษาของเอกชนประเภทสามัญศึกษา
1.สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน
(1) ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า                      13,600 บาท
(2) ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า              13,200 บาท
(3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า     15,800 บาท
(4) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า     16,200         บาท
2. สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน
(1) ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า                       4,800 บาท
(2) ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า               4,200 บาท
(3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า      3,300 บาท
(4) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า      3,200 บาท
สถานศึกษาของเอกชนประเภทสามัญศึกษา
1.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
1.1สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้
(1)คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์             16,500 บาท
(2)พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ              19,900 บาท
(3)ศิลปะหัตกรรม หรือศิลปกรรม             20,000 บาท
(4)เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์              21,000 บาท
(5)ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม      24,400 บาท
(6)ประมง                                                      21,100 บาท
(7)อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว                      19,900 บาท
(8)อุตสาหกรรมสิ่งทอ                              24,400 บาท
1.2สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน
ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้
(1)คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์               3,400 บาท
(2) พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ                5,100 บาท
(3) ศิลปะหัตกรรม หรือศิลปกรรม                3,600 บาท
(4) เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์                5,000 บาท
(5) ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม        7,200 บาท
(6) ประมง                                        5,000 บาท
(7) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว                5,100 บาท
(8) อุตสาหกรรมสิ่งทอ                        7,200 บาท
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้
(1) ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมเทคโนโลยี 30,000 บาท
สารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนศาสตร์
(2) พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรม 25,000 บาท
หรือศิลปกรรม เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์
คหกรรม หรือคหศาสตร์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
สำหรับรายละเอียดของสาขาวิชาตามประเภทวิชาหรือสายวิชาของหลักสูตรที่กำหนดดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้สถานศึกษาเอกชนทำการเปิดสอนในสาขาวิชานั้น ๆ
3. หลักสูตรระดับปริญญาตรี
ให้เบิกจ่ายได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียน ปีการศึกษาละไม่เกิน    25,000 บาท

ค่าเล่าเรียน ที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือมหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น