วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Philosophy of “Sufficiency Economy”

ชื่อผู้แบ่งปัน :  นางสาววชิรานันท์  อนันเอื้อ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน  :  ส่วนบริหารการรับ – จ่าย 1
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ :  0-2127-7000  ต่อ 4643


คุณลิขิต :  นางสาวพจนีย์  พรหมดำ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน  :  ส่วนบริหารการรับ – จ่าย 1
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ :  0-2127-7000 ต่อ 4536


ชื่อกิจกรรมพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ  :  Philosophy of “Sufficiency Economy”
หัวข้อและเนื้อหารายละเอียดการพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ (ไม่จำกัดจำนวนหน้าของความรู้ฯ ที่แบ่งปัน)

Philosophy of “Sufficiency Economy”
“Sufficiency Economy” is a philosophy conceived and developed King Bhumibol Adulyadej of Thailand over 60 years of tireless development work to improve the lives of the Thai people and bring them a genuine and lasting happiness.
“Sufficiency Economy” is a philosophy that stresses the middle path as an overriding principle for appropriate conduct by the populace at all levels. This applies to conduct starting from the level of the families, communities, as well as the level of nation in development and administration so as to modernize in line with the forces of globalization.
“Sufficiency” means moderation, reasonableness, and the need of self–immunity for sufficient protection from impact arising from internal and external changes. To achieve this, an application of knowledge with due consideration and prudence is essential. In particular great care is needed in the utilization of theories and methodologies for planning and implementation in every step. At the same time, it is essential to strengthen the moral fibre of the nation, so that everyone, particularly public officials, academics, businessmen at all levels, adheres first and foremost to the principles of honesty and integrity. In addition, a way of life based on patience, perseverance, diligence, wisdom and prudence is indispensable to create balance and be able to cope appropriately with critical challenges arising from extensive and rapid socioeconomic, environmental, and cultural changes in the world.”      
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชทรงพระราชทาน มากกว่า 60 ปี ที่ทรงพระราชกรณียกิจไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อพัฒนาและยกฐานะความเป็นอยู่ของคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขอย่างยั่งยืน
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  
“ความพอเพียง” หมายถึง ความพอ ประมาณ  ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ สมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ  อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง    ทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน   และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม   ความซื่อสัตย์ สุจริต   และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
คำศัพท์
1.  Philosophy ปรัชญา
2.  Sufficiency ความพอเพียง
3.  Economic         เศรษฐกิจ
4.  Development การพัฒนา
5.  Improve         ปรับปรุง
6.  Principle         หลักการ, ทฤษฎี
7.  Appropriate อย่างเหมาะสม
8.  Populace         ประชาชน
9.  Community ชุมชน
10.  Modernize ทันสมัย
11.  Moderation ความพอประมาณ
12.  Reasonableness มีเหตุผล
13.  Self-immunity มีภูมิคุ้มกัน
14.  Consideration วิจารณญาณ, ดุลพินิจ
15.  Prudence         ความรอบคอบ
16.  Particular โดยเฉพาะ
17.  Utilization การใช้ประโยชน์
18.  Methodologies วิธีการ
19.  Implementation การดำเนินการ
20.  Honesty         ความซื่อสัตย์
21.  Integrity         สุจริต
22.  Patience         อดทน
23.  Perseverance ความหมั่นเพียร
24.  Diligence ความขยัน
25.  Indispensable           จำเป็น
ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
  ต่อตนเอง  ได้แก่  พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตนเองเพิ่มขึ้น
  ต่อหน่วยงาน ได้แก่  พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและเสริมสร้างความสามัคคีของบุคลากรภายในหน่วยงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น