วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
Project Audit การตรวจสอบโครงการให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อองค์กร
ความรู้เกี่ยวกับ : Project Audit การตรวจสอบโครงการให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อองค์กร
โดย : นางสาวดวงกมล ดวงงามยิ่ง
หน่วยงาน : กลุ่มตรวจสอบภายใน
Project Audit การตรวจสอบโครงการให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อองค์กร
โครงการที่ดำเนินการในกิจการต่าง ๆ และหน่วยงานภาครัฐจะมีขนาดของโครงการใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้น การทำความเข้าใจและกำหนดกระบวนการบริหารโครงการได้อย่างเหมาะสมจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญของการบริหารงานในปัจจุบัน
ทั้งนี้เพราะการมีการตระหนักและระมัดระวังในการกำหนดวิธีการและขั้นตอนการบริหารโครงการอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีการคำนึงถึงคุณภาพ มาตรฐาน และแนวพึงปฏิบัติที่ดีเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการพัฒนา
ผลการดำเนินงานของโครงการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น การรับรู้ว่าโครงการประสบความล้มเหลวหรือความสำเร็จอย่างเดียว ไม่ได้สร้างมูลค่าแก่องค์กรแต่อย่างใด หากไม่สามารถสรุปได้ว่าองค์กรได้บทเรียนอะไรบ้างจากโครงการที่ได้ดำเนินไป และจะแปลงบทเรียนเป็นพารามิเตอร์หรือปัจจัยหรือองค์กรความรู้ที่จะช่วยพัฒนาการบริหารโครงการต่อไปได้อย่างไร
การเลือกรูปแบบตรวจสอบ
รูปแบบของการตรวจสอบโครงการ (Project Audit) อาจจะเลือกทำได้ถึง 4 รูปแบบขึ้นอยู่กับวัฏจักรของโครงการ ดังนี้
(1)Pre-Audit เป็นการตรวจสอบในระหว่างที่มีการกำหนดรายละเอียด ขอบเขตของการดำเนินงานโครงการเพื่อช่วยประกันว่า จะพิจารณาและเตรียมการนำมาตรฐานมาใช้ในการควบคุมโครงการและกระบวนการรายงานผลการดำเนินงานโครงการก่อนการนำเสนอขออนุมัติโครงการ นอกจากนั้นการตรวจสอบประเภทนี้ จะมุ่งเน้นการพิจารณาความพร้อมและความพอเพียงของกิจกรรม/แผนงานการถ่ายโอนความเสี่ยง การกำหนดขอบเขตโครงการที่เหมาะสมและแผนบริหารความเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น
(2)Mini-Audit เป็นการตรวจเพื่อประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลาการบริหารงานโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการจะดำเนินไปเรื่อย ๆ มีความก้าวหน้าตามที่คาดหมายเอาไว้
(3)Full-Audit เป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามที่ได้รับการร้องขอ เพื่อทำการทบทวนอย่างละเอียดเกี่ยวกับโครงการ และตรวจสอบปัญหาที่แท้จริงและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และนำเสนอกิจกรรมการแก้ไข
(4)Post Project Audit เป็นการตรวจสอบเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อสรุปให้เห็นว่า มีการดำเนินการใดบ้างในระหว่างที่ทำโครงการ และมีแนวทางในการพัฒนาโครงการที่จะเกิดใหม่ในอนาคตอย่างไร
ประโยชน์จากการตรวจสอบโครงการ
(1) ได้มีการประเมินอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านการบริหารโครงการเทียบกับแนวทางพึงปฏิบัติ
(2) ระบุประเด็นความเสี่ยงในการบริหารโครงการสำหรับโครงการใหม่หรือโครงการที่มีการดำเนินการจริง
(3) ระบุแผนปฏิบัติการในแต่ละโครงการที่ผ่านการตรวจสอบ
(4) ช่วยปรับปรุงโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ
หลักการโดยทั่วไปของการกำกับงานตรวจสอบโครงการ
งานตรวจสอบเป็นงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนและแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ กิจกรรมในแต่ละโครงการ ผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง กรอบการตรวจสอบโครงการจึงอาจจะเป็น
(1)การตรวจสอบสถานะงบการเงินของโครงการ หรือการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการ (Financial Statement Audit) วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสถานะงบการเงินของโครงการ คือ พิจารณาว่า การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ หรือต้นทุนของการจัดทำไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมและ/หรือผลผลิตของโครงการที่เกิดขึ้นตลอดจนกระบวนการเบิกจ่ายเงินมีความถูกต้องตามหลักเกณฑ์
(2)การตรวจสอบการกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ (Compliance Audit)
เป็นการตรวจสอบเพื่อทบทวนและทดสอบ (Review, Testing) รวมถึงประเมินระบบการควบคุมและขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในโครงการ รวมทั้งการกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ที่เป็นคำสั่งระเบียบปฏิบัติ
การปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาและข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) การตรวจสอบกิจกรรมและการปฏิบัติงานในโครงการ (Operational Audit) เป็นการตรวจสอบการดำเนินงานและเทคนิคการบริหารโครงการ โดยใช้มิติของการปรับปรุงในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น