วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

ออกกำลังสมอง

ความรู้เกี่ยวกับ  :   ออกกำลังสมอง
โดย : นางสาวปนัสยา  เสียงก้อง
หน่วยงาน  กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มขั้น เนื่องจากผู้หญิงยุคใหม่เป็นเวิร์กกิ้งวูแม้นมากขึ้น สนใจทำงานมากกว่ามีครอบครัว จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างประชากรไทยกำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นตัวเราเองควรจะถนอมตัว รักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ ให้แข็งแรง และที่สำคัญคือ ออกกำลังสมองซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สมองทำงานได้ดีไม่เสื่อมสภาพเร็ว การออกกำลังสมองเปรียบได้กับการออกกำลังของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหวเพื่อใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนให้ทำงานเชื่อมโยงกัน ส่งผลให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้น ดังนั้นการออกกำลังสมองจึงเป็นเสมือนการฝึกให้สมองส่วนต่างๆ มีการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กัน ทำให้ระบบการทำงานของสมองแข็งแรงและมีพลังขึ้น เพราะเมื่อฝึกออกกำลังสมองบ่อยๆ สมองจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่านิวโรโทรฟินส์เปรียบเหมือน “อาหารสมอง” ที่ทำให้เซลล์ที่เชื่อมระหว่างเซลล์ประสาททำงานดีขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เนื้อเซลล์เจริญเติบโตและเซลล์สมองแข็งแรง


 


อาการอัลไซเมอร์ เป็นอาการสมองเสื่อม ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากสารหลั่งในสมองที่เกี่ยวกับความจำลดลงและมีการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ในช่วง 8 – 10 ปี หลังจากเริ่มมีอาการและไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงยิ่งขึ้นจนกระทั่งไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติแม้กระทั่งการ
แปรงฟัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบในผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป แต่อาจพบในผู้ที่อายุน้อยกว่าก็ได้ซึ่งมักจะมีประวัติ
สมองเสื่อมในครอบครัวด้วย โรคนี้ต่างจากอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ตรงที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากเพียงแต่ประคับประคองไม่ให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว การดูแลรักษาประคับประคอง เช่น การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง และรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด เข้าร่วมสังคมสม่ำเสมอ
สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าอยู่บ้านสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ที่บ้านได้ เช่น ในขณะฟังเพลง
อาจหลับตาเพื่อจะได้มีสมาธิจดจ่อกับดนตรีได้ดีขึ้น การปั้นตุ๊กตาด้วยดินน้ำมัน หรือประดิษฐ์ดอกไม้จากแป้งก็จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทางผิวหนังให้ได้รับรู้มากขึ้น ในระหว่างเดินทางก็ฝึกสมองได้ เช่น เมื่อต้องขับรถไปทำงานทุกวันก็ลองเปลี่ยนเส้นทางที่ใช้อยู่เดิมบ้าง อาจเป็นเส้นทางใหม่ที่รู้อยู่แล้ว หรือเส้นทางทดลองขับก็ได้ เพราะทั้งวิวทิวทัศน์ของเส้นทางใหม่จะช่วยกระตุ้นทั้งสมองชั้นนอกและฮิปโปแคมปัส ให้สร้างแผนที่เส้นทางชุดใหม่ขึ้นในสมอง หรืออาจเปลี่ยนวิธีการเดินทางบ้าง เช่น จากที่เคยขับรถก็อาจนั่งรถเมล์หรือรถไฟฟ้ามาทำงานแทน
ขณะทำงานก็อาจฝึกสมองไปด้วย เช่น พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ หรือคนที่ไม่ค่อยคุยด้วย เพื่อเติมข้อมูลใหม่ๆ ให้กับสมอง ทั้งการจำลักษณะใบหน้า เสียงพูดหรืออุปนิสัยส่วนตัวของเพื่อนร่วมงานคนนั้น หรืออาจจะชวนเพื่อนร่วมงานถกเถียงอภิปรายหรือพูดคุยในประเด็นที่ไม่เคยพูด เพื่อเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ
ลองฝึกสังเกตอาการของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวว่ามีความผิดปกติในเรื่องความจำ การสื่อสารบ้างหรือไม่ เพราะหากพบอาการผิดปกติเร็ว ยังไม่ร้ายแรง ก็จะสามารถรักษาได้ผลมากกว่าปล่อยทิ้งไว้นานๆ อย่าลืมว่าเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ไม่มีลูกหลานก็ต้องดูแลตัวเองให้ดีกันนะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น