ความรู้เกี่ยวกับ : มือชา-นิ้วล็อค โรคฮิตของคนทำงาน
โดย : นางสาวศิริพร เบญจพงศ์ นักบัญชีชำนาญการ
สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ
มือชา-นิ้วล็อค โรคฮิตของคนทำงาน
โดย นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกและข้อ
เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้ามาปรึกษาแพทย์ทางกระดูกและข้อเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดกับมือ และต้องเข้ารับการฟื้นฟูทำกายภาพบำบัดจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหญิงและชาย ที่พบเป็นประจำได้แก่ อาการมือชาจนอ่อนแรงหยิบจับอะไรแทบไม่ได้ และอาการของนิ้วล็อค คือนิ้วบางนิ้วแข็งเกร็งขยับแทบไม่ได้ เมื่องอ หรือเหยียดนิ้วออกแล้วจะเจ็บปวดมาก เมื่อสอบถามประวัติแต่ละคนก็ได้คำตอบคล้ายๆ กันคือ ส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ บางคนมีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ พนักงานบัญชี นอกเหนือไปจากนั้นก็ได้แก่ หนุ่มๆ นักกอล์ฟ กลุ่มสาวๆ พนักงานนวด (แผนไทย) คนทำงานตามโรงงานที่ต้องใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ พ่อครัวที่ต้องสับเนื้อหั่นผักตลอดเวลา แม้กระทั่งแม่บ้านที่ทำงานซักผ้า ถูบ้านต้องออกแรงบิดผ้าเสมอๆ
มาดูกันว่าอาการผิดปกติเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร หากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทันและไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้น
โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ
โรคมือชานี้เกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือเพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือ โดยทอดผ่านบริเวณข้อมือและลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชา ร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรงหยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลงเมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี
อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ...
สิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวม และการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทถูกกด เช่น เกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่นใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรู กำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน
ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
* มีอาการชา และรู้สึกซ่าในบริเวณมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมักจะเกิดในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับท่าทางในการนอน และหลังจากการใช้มือข้างนั้นๆ
* การรับความรู้สึกที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนางลดลง ทำให้หยิบจับของไม่ถนัด
* มีอาการรู้สึกแปล๊บๆ หรือคล้ายกับไฟฟ้าช็อตเมื่อทำการเคาะลงตรงข้อมือในบริเวณที่มีเส้นประสาททอดผ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นในคนที่งอมือเข้าหาท้องแขนเป็นเวลา 1 นาที ถ้าเส้นประสาทนี้ถูกกดทับเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือแฟบลง
การรักษา
ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยอาจจะใช้วิธีการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้
* ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอน และช่วยให้เยื่อบุข้อมือและเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ
* รับประทานยาลดการอักเสบ
* ถ้าอาการเป็นมากขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่าน ซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ และเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวม ทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทก็น้อยลง ปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดีในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืด เส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลง อาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558
บัตรเครดิตราชการ
ตำแหน่ง : นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานคลังเขต 6 จ.พิษณุโลก
ความรู้เกี่ยวกับ : บัตรเครดิตราชการ
โดย : เรียบเรียงจาก หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0407.2/ว 85
ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 และ สอบถามจาก บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี
ความเป็นมาของบัตรเครดิตราชการ
ตามนโยบายและวัตถุประสงค์รัฐบาล
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายภาครัฐ
2. เพื่อช่วยให้เม็ดเงินผันสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น
3. เพื่อช่วยสร้างงาน ลดปัญหาเศรษฐกิจ และสังคม
4. เพื่อลดความเสี่ยงในการถือครองเงินสดมากๆในระหว่างปฏิบัติราชการ
บัตรเครดิตราชการ คือ “บัตรเครดิตที่ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ ได้รับอนุมัติจากส่วนราชการให้จัดทำเพื่อนำไปใช้จ่ายแทนเงินสดสำหรับค่าใช้จ่าย 4 รายการที่กระทรวงการคลังกำหนด ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0407.2/ว 85 ลงวันที่ 30 กันยายน 2554
สำหรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? (ตาม ว 85 ข้อ 2)
1. เดินทางไปราชการ
2. จัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา/นิทรรศการ
3. เลี้ยงรับรองชาวต่างประเทศ
4.ค่าโดยสารเครื่องบินสำหรับผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาที่สำนักงาน ก.พ.ดำเนินการ
การขอใช้บริการบัตร KTC เพื่อหน่วยงานรัฐ (บัตรฯ) ของสำนักงานคลังเขต / สำนักงานคลังจังหวัด
1. กรอกแบบฟอร์มคำขอปรับเปลี่ยนผู้รับบริการ (ก-2)
- แต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจและผู้ประสานงาน
- ระบุวงเงินย่อยของแต่ละสำนักงานคลังเขต เป็น 3,000,000.- บาท สำนักงานคลังจังหวัด 500,000.-บาท
- ระบุผู้รับมอบอำนาจ และ ผู้ประสานงาน พร้อมตัวอย่างลายมือชื่อ
- ระบุที่อยู่ในการจัด-ส่งบัตรและเอกสาร
2. ผู้รับมอบอำนาจ สำนักงานคลังเขต/คลังจังหวัด
- กรอกแบบฟอร์มข้อมูลการแสดงตน (KYC) และลงนาม
- จัดเตรียมสำเนาบัตรประชาชน/สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- จัดเตรียมสำเนาบัตรประชาชน/สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้ประสานงาน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
3. ส่งเอกสารทั้งหมดกลับมายัง ส่วนกลาง เพื่อรวบรวมนำเสนออธิบดีอนุมัติ
ขั้นตอนการใช้บัตรเครดิตราชการ
1. ข้าราชการต้องสมัครบัตรเครดิตโดยส่งใบสมัครบัตรฯ และเอกสารประกอบการพิจารณาให้ผู้ประสานงานของกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังเขต หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วให้ผู้ประสานงานส่งใบสมัครและแบบฟอร์มให้ผู้รับมอบอำนาจลงนามอนุมัติ หลังจากอนุมัติเรียบร้อยแล้วให้ผู้ประสานงานส่งเอกสารทั้งหมดให้บริษัท เคทีซี เมื่อบริษัท เคทีซี ได้รับเรื่องแล้วจะจัดส่งบัตรให้สำนักงานคลังเขต/คลังจังหวัด ภายใน 7-10 วันทำการ
2. การเปิดวงเงินบัตรเครดิตราชการ ให้ข้าราชการ ส่งสัญญายืมเงิน และการใช้บัตรเครดิตราชการ ที่ได้รับอนุมัติแล้ว(ใช้แบบฟอร์มที่แนบมากับ ว.85) ให้ผู้ประสานงานของสำนักงานคลังเขต/คลังจังหวัด
3. การชำระเงิน บัตรเครดิตราชการ กรมบัญชีกลาง หรือ สำนักงานคลังเขต หรือสำนักงานคลังจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าสินค้าและบริการที่เกิดขึ้น วันครบกำหนดชำระ ตัดรอบบัญชีทุกวันที่ 11 ของเดือน ชำระเต็มจำนวนทุกวันที่ 26 ของเดือน
วิธีการชำระเงิน หลังวันตัดรอบบัญชี
1.ตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายที่แสดงบนใบแจ้งยอดการใช้จ่ายที่ส่งให้ทางไปรษณีย์ หรือ ที่ www.ktc.co.th
2.รวบรวมเอกสารต่าง ๆ (ใบเสร็จรับเงิน,สลิปบัตรเครดิต,ใบแจ้งยอดการใช้จ่ายบัตรฯ) เพื่อขอเบิกเงินจากระบบ GFMIS ให้กับ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามจำนวนเงินที่ บริษัทฯแจ้ง โดยไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
3.หลังจาก กรมบัญชีกลาง โอนเงินเข้าบัญชีของกรมฯหรือคลังเขต หรือ คลังจังหวัด แล้วเขียนเช็คสั่งจ่าย บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
4.นำเช็คไปชำระที่เคาเตอร์ของธนาคารกรุงไทย
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558
อีคิวมีอิทธิพลต่อการทำงานอย่างไร
ความรู้เกี่ยวกับ : อีคิวมีอิทธิพลต่อการทำงานอย่างไร
โดย : นางสาวเพ็ญพิชญา ศริวิเศษชัยชาญ
หน่วยงาน ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักกฎหมาย
อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ มีประโยชน์ต่อชีวิตของเราอย่างมากมายมหาศาล เช่น ต่อการทำงาน ต่อความรักและครอบครัว ต่อการศึกษา ต่อตัวเราเอง เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความฉลาดทางอารมณ์ต่อการทำงาน
ความฉลาดทางอารมณ์ต่อการทำงาน
ในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ๑๙๖๐ มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาสูง ล้มเหลวในการเป็นผู้บริหารสูงสุด เพราะขาดความเข้าใจมนุษย์ ขาดการปฏิสัมพันธ์และอารมณ์ที่ดี ขณะที่พนักงานที่อยู่กับองค์กรได้นานคือพนักงานที่เป็นคนมองโลกในแง่ดี พนักงานกลุ่มนี้จะไม่ท้อใจเมื่อมีอุปสรรคในการทำงาน แต่จะมุ่งมั่นทำงานต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ขณะที่พนักงานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย พวกนี้มักจะชิงลาออกไปตั้งแต่ปีแรก หลังจากที่ไม่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวัง
จากตัวอย่างงานวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีผลต่อการทำงานอย่างชัดเจน นักจิตวิทยาพบว่าคนที่มีอารมณ์ดี จะมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ง่าย ตลอดจนมีทักษะที่ดีในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งที่บ้านและที่ทำงานหรือในเวลาที่ต้องออกสังคม ขณะเดียวกันความฉลาดทางอารมณ์ก็จะช่วยให้เรามองโลกในแง่ดี ทำให้มีพลังในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างไม่ท้อถอย สามารถสร้างกำลังใจให้กับตัวเองในยามล้มเหลว หรือมีปัญหาได้ ต่างจากคนที่มองโลกในแง่ร้ายที่มักจะมองเห็นแต่ปัญหาและความยุ่งยาก ทำให้ขาดกำลังใจที่จะผลักดันให้ฟันฝ่าอุปสรรค เชาวน์ปัญญาที่ดีหรือไอคิวสูงจึงไม่อาจบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการทำงานเสมอไปหากไม่มีความฉลาดทางอารมณ์เป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบริหารหรือการทำธุรกิจ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก "ความเก่งงาน" เพียงอย่างเดียวจึงไม่พอ หากยังต้องมี "ความเก่งคน" ประกอบด้วย
ยกตัวอย่างเช่น น้ำริน พนักงานในแผนกการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง น้ำรินเป็นคนที่เก่งในเรื่องการประสานงาน ถนัดที่จะพบปะผู้คนเพื่อเจรจาตกลงดำเนินงานร่วมกัน แต่ต่อมา
แผนกต้องการให้เธอทำหน้าที่พิธีกรของงาน เพราะขาดแคลนบุคคลากรด้านนี้ น้ำรินอึดอัดใจมาก เพราะไม่ถนัดงานที่จะต้องยืนพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก เธอรู้สึกไม่มั่นใจ และเครียดทุกครั้ง ทำให้งานออกมาไม่ดี นับดาว ซึ่งเป็นหัวหน้างานเรียกเธอไปตำหนิ น้ำรินพยายามอธิบายถึงความลำบากใจในการทำหน้าที่นี้ แต่นับดาวบอกว่า คนเราต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง อะไรที่ทำไม่ได้ ก็ควรจะแก้ไขให้ทำได้ ผลจากกรณีนี้ทำให้นับดาวสูญเสียคนประสานงานที่ดีและได้พิธีกรที่แย่ ส่วนน้ำรินต้องทำงานด้วยความอึดอัด เครียด และไม่มีความสุข
ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการทำงาน จึงจำเป็นที่จะต้องฉลาดรู้ทั้งในเรื่องการทำงานและคนทำงาน มีการรับรู้และแสดงอารมณ์ทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนมีการเรียนรู้ เข้าใจ สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับ คนที่มีไอคิวสูง แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อาจจะมาจากการที่ไม่มีโอกาสได้ใช้ศักยภาพหรือความเก่งที่มีอยู่ เพราะผู้ร่วมงานไม่ให้ความร่วมมือ หรือเพราะมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ เช่น รับไม่ได้เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์งาน มีปัญหาในการพูดจาสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ปัญหาที่สร้างความยุ่งยาก ลำบากใจในการทำงาน จึงมักมาจากผู้ร่วมงานมากกว่าตัวงานจริง ๆ โดยเฉพาะในโลกของการทำงานปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ต้องติดต่อประสานงาน ประสานความร่วมมือเพื่อให้แต่ละฝ่ายขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมาย ความหงุดหงิด ขัดแย้ง ไม่พอใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และหากไม่มีวิธีจัดการที่เหมาะสม เรื่องเล็กก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นปัญหา เป็นความทุกข์ใจ และยังอาจมีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าได้อีกด้วย
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในที่ทำงานจากการพัฒนาที่ตัวเราเองและการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีเทคนิคดังนี้
1. เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของอารมณ์ บุคคลแต่ละคนมีความรู้สึกและอารมณ์พื้นฐาน
ของตนเอง เช่น ดีใจ เสียใจ อิจฉา ฯลฯ และมีการแสดงออกที่ต่างกรรมต่างวาระกันไป แต่ละคนจะมีอารมณ์และความรู้สึกที่ผันแปรแตกต่างกัน ยากที่จะนำความรู้สึกดี-ชั่วของตัวเราเองไปตัดสินได้ การตัดสินความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุผล วัย ปัจจัยทางสังคม และการกำหนดทางวัฒนธรรม
2. รับฟัง ทำความเข้าใจและให้เกียรติผู้อื่น การยอมรับและเข้าใจภาวะที่บุคคลแสดงออก
เป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้ตนเอง การรักษาหน้า ความมั่นใจ การไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและผลผลิตที่บุคคลมีส่วนต่อองค์กร การปฏิเสธที่จะรับฟังหรือทำความเข้าใจกับภาวะอารมณ์ที่แสดงออก เช่น การเพิกเฉย วิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิ การเห็นเป็นเรื่องปกติ การบั่นทอนล้อเลียนความรู้สึกของบุคคลเป็นการทำลายระดับความมั่นใจในตนเอง ความคิดสร้างสรรค์ และเกียรติภูมิแห่งตนของผู้อื่นและเป็นการไม่เคารพความเป็นปัจเจกบุคคลอีกด้วย
3. การแก้ไขความขัดแย้ง บางครั้งการใช้เพียงเหตุผลแต่โดยลำพัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ความรู้สึกได้ ควรยอมรับความรู้สึกโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาการแสดงออก ผู้มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าจะไม่ใช้วิธีการที่บั่นทอนความรู้สึกของคนอื่น แต่ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ได้ดี จะช่วยทั้งความรู้สึกของตัวเองและช่วยให้อีกฝ่ายสงบลงได้ การที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ออกในทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ เศร้าซึม อาฆาต ไม่ให้อภัย แสดงให้เห็นว่าความต้องการทางอารมณ์ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ยังมีความตึงเครียดในจิตใจ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจภาวะอารมณ์ของตน เพื่อเข้าใจภาวะอารมณ์ของผู้อื่น เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก รับฟังด้วยความเข้าใจ เห็นใจและยอมรับภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับตนเองและเพิ่มความมั่นคงทางจิตใจ ส่งผลต่อการพัฒนาทางความคิด การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพิ่มขวัญกำลังใจ ความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน
4. ในกรณีที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ทางลบในระดับที่รุนแรง เช่น เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คาดคะเนพฤติกรรมไม่ได้ หรือไม่สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้เลย พูดมากเกินปกติ เปลี่ยนหัวข้อพูดคุยรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย มีปฏิกิริยามากเกินไปต่อเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ฯลฯ ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานควรหามาตรการและทางบำบัดแก้ไข ในกรณีของผู้ที่ไม่สามารถสื่อความรู้สึกและภาวะอารมณ์กับผู้อื่นได้
ผู้บริหารอาจโยกย้ายให้ไปทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้คนมากนัก ทำคนเดียวได้สำเร็จ หาพนักงานที่กล้าแสดงออกและมีมนุษยสัมพันธ์ดีมาเป็นเพื่อนชวนพูดคุยกระตุ้นให้เขาได้มีโอกาสแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น โดยรู้สึกว่ามีคนยอมรับฟังตน
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานสำหรับตนเอง
1. รู้ทัน ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณา เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดงอารมณ์มากขึ้น
2. รับผิดชอบ เมื่อเกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ท้อแท้ ให้ฝึกคิดอยู่เสมอว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรหัดแยกแยะ วิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล ไม่คิดเอาเองด้วยอคติหรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้การตีความในปัจจุบันผิดพลาดได้
3. จัดการได้ อารมณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นสามารถคลี่คลายสลายให้หมดไปด้วยการรู้เท่าทันและหาวิธีจัดการที่เหมาะสม เช่น ไม่จ่อมจมอยู่กับอารมณ์นั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยหางานหรือกิจกรรมทำ เพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับงาน เป็นการสร้างความเพลิดเพลินใจขึ้นมาแทนที่อารมณ์ไม่ดีที่มีอยู่
4. ใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน
5. เติมใจให้ตนเอง โดยการหัดมองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น
6. ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่าปัจจุบันกำลังสุขหรือทุกข์อย่างไร อาจเป็นสมาธิอย่างง่าย ๆ ที่กำหนดจิตใจไว้ที่ลมหายใจเข้าออก การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ และมีกำลังใจในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
7. ตั้งใจให้ชัดเจน กำหนดจิตใจตนเองว่าต่อไปนี้จะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานให้ชัดเจน
8. เชื่อมั่นในตนเอง จากงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่มีความเชื่อมั่น
ในตนเองจะมีความสำเร็จในการทำงานและการเรียนมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
9. กล้าลองเพื่อรู้ การกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่ยากกว่าในระดับที่คิดว่าน่าจะทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
โดย : นางสาวเพ็ญพิชญา ศริวิเศษชัยชาญ
หน่วยงาน ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักกฎหมาย
อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ มีประโยชน์ต่อชีวิตของเราอย่างมากมายมหาศาล เช่น ต่อการทำงาน ต่อความรักและครอบครัว ต่อการศึกษา ต่อตัวเราเอง เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความฉลาดทางอารมณ์ต่อการทำงาน
ความฉลาดทางอารมณ์ต่อการทำงาน
ในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ๑๙๖๐ มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาสูง ล้มเหลวในการเป็นผู้บริหารสูงสุด เพราะขาดความเข้าใจมนุษย์ ขาดการปฏิสัมพันธ์และอารมณ์ที่ดี ขณะที่พนักงานที่อยู่กับองค์กรได้นานคือพนักงานที่เป็นคนมองโลกในแง่ดี พนักงานกลุ่มนี้จะไม่ท้อใจเมื่อมีอุปสรรคในการทำงาน แต่จะมุ่งมั่นทำงานต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ขณะที่พนักงานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย พวกนี้มักจะชิงลาออกไปตั้งแต่ปีแรก หลังจากที่ไม่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวัง
จากตัวอย่างงานวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีผลต่อการทำงานอย่างชัดเจน นักจิตวิทยาพบว่าคนที่มีอารมณ์ดี จะมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ง่าย ตลอดจนมีทักษะที่ดีในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งที่บ้านและที่ทำงานหรือในเวลาที่ต้องออกสังคม ขณะเดียวกันความฉลาดทางอารมณ์ก็จะช่วยให้เรามองโลกในแง่ดี ทำให้มีพลังในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างไม่ท้อถอย สามารถสร้างกำลังใจให้กับตัวเองในยามล้มเหลว หรือมีปัญหาได้ ต่างจากคนที่มองโลกในแง่ร้ายที่มักจะมองเห็นแต่ปัญหาและความยุ่งยาก ทำให้ขาดกำลังใจที่จะผลักดันให้ฟันฝ่าอุปสรรค เชาวน์ปัญญาที่ดีหรือไอคิวสูงจึงไม่อาจบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการทำงานเสมอไปหากไม่มีความฉลาดทางอารมณ์เป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบริหารหรือการทำธุรกิจ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก "ความเก่งงาน" เพียงอย่างเดียวจึงไม่พอ หากยังต้องมี "ความเก่งคน" ประกอบด้วย
ยกตัวอย่างเช่น น้ำริน พนักงานในแผนกการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง น้ำรินเป็นคนที่เก่งในเรื่องการประสานงาน ถนัดที่จะพบปะผู้คนเพื่อเจรจาตกลงดำเนินงานร่วมกัน แต่ต่อมา
แผนกต้องการให้เธอทำหน้าที่พิธีกรของงาน เพราะขาดแคลนบุคคลากรด้านนี้ น้ำรินอึดอัดใจมาก เพราะไม่ถนัดงานที่จะต้องยืนพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก เธอรู้สึกไม่มั่นใจ และเครียดทุกครั้ง ทำให้งานออกมาไม่ดี นับดาว ซึ่งเป็นหัวหน้างานเรียกเธอไปตำหนิ น้ำรินพยายามอธิบายถึงความลำบากใจในการทำหน้าที่นี้ แต่นับดาวบอกว่า คนเราต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง อะไรที่ทำไม่ได้ ก็ควรจะแก้ไขให้ทำได้ ผลจากกรณีนี้ทำให้นับดาวสูญเสียคนประสานงานที่ดีและได้พิธีกรที่แย่ ส่วนน้ำรินต้องทำงานด้วยความอึดอัด เครียด และไม่มีความสุข
ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการทำงาน จึงจำเป็นที่จะต้องฉลาดรู้ทั้งในเรื่องการทำงานและคนทำงาน มีการรับรู้และแสดงอารมณ์ทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนมีการเรียนรู้ เข้าใจ สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับ คนที่มีไอคิวสูง แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อาจจะมาจากการที่ไม่มีโอกาสได้ใช้ศักยภาพหรือความเก่งที่มีอยู่ เพราะผู้ร่วมงานไม่ให้ความร่วมมือ หรือเพราะมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ เช่น รับไม่ได้เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์งาน มีปัญหาในการพูดจาสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ปัญหาที่สร้างความยุ่งยาก ลำบากใจในการทำงาน จึงมักมาจากผู้ร่วมงานมากกว่าตัวงานจริง ๆ โดยเฉพาะในโลกของการทำงานปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ต้องติดต่อประสานงาน ประสานความร่วมมือเพื่อให้แต่ละฝ่ายขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมาย ความหงุดหงิด ขัดแย้ง ไม่พอใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และหากไม่มีวิธีจัดการที่เหมาะสม เรื่องเล็กก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นปัญหา เป็นความทุกข์ใจ และยังอาจมีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าได้อีกด้วย
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในที่ทำงานจากการพัฒนาที่ตัวเราเองและการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีเทคนิคดังนี้
1. เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของอารมณ์ บุคคลแต่ละคนมีความรู้สึกและอารมณ์พื้นฐาน
ของตนเอง เช่น ดีใจ เสียใจ อิจฉา ฯลฯ และมีการแสดงออกที่ต่างกรรมต่างวาระกันไป แต่ละคนจะมีอารมณ์และความรู้สึกที่ผันแปรแตกต่างกัน ยากที่จะนำความรู้สึกดี-ชั่วของตัวเราเองไปตัดสินได้ การตัดสินความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุผล วัย ปัจจัยทางสังคม และการกำหนดทางวัฒนธรรม
2. รับฟัง ทำความเข้าใจและให้เกียรติผู้อื่น การยอมรับและเข้าใจภาวะที่บุคคลแสดงออก
เป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้ตนเอง การรักษาหน้า ความมั่นใจ การไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและผลผลิตที่บุคคลมีส่วนต่อองค์กร การปฏิเสธที่จะรับฟังหรือทำความเข้าใจกับภาวะอารมณ์ที่แสดงออก เช่น การเพิกเฉย วิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิ การเห็นเป็นเรื่องปกติ การบั่นทอนล้อเลียนความรู้สึกของบุคคลเป็นการทำลายระดับความมั่นใจในตนเอง ความคิดสร้างสรรค์ และเกียรติภูมิแห่งตนของผู้อื่นและเป็นการไม่เคารพความเป็นปัจเจกบุคคลอีกด้วย
3. การแก้ไขความขัดแย้ง บางครั้งการใช้เพียงเหตุผลแต่โดยลำพัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ความรู้สึกได้ ควรยอมรับความรู้สึกโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาการแสดงออก ผู้มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าจะไม่ใช้วิธีการที่บั่นทอนความรู้สึกของคนอื่น แต่ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ได้ดี จะช่วยทั้งความรู้สึกของตัวเองและช่วยให้อีกฝ่ายสงบลงได้ การที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ออกในทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ เศร้าซึม อาฆาต ไม่ให้อภัย แสดงให้เห็นว่าความต้องการทางอารมณ์ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ยังมีความตึงเครียดในจิตใจ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจภาวะอารมณ์ของตน เพื่อเข้าใจภาวะอารมณ์ของผู้อื่น เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก รับฟังด้วยความเข้าใจ เห็นใจและยอมรับภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับตนเองและเพิ่มความมั่นคงทางจิตใจ ส่งผลต่อการพัฒนาทางความคิด การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพิ่มขวัญกำลังใจ ความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน
4. ในกรณีที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ทางลบในระดับที่รุนแรง เช่น เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คาดคะเนพฤติกรรมไม่ได้ หรือไม่สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้เลย พูดมากเกินปกติ เปลี่ยนหัวข้อพูดคุยรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย มีปฏิกิริยามากเกินไปต่อเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ฯลฯ ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานควรหามาตรการและทางบำบัดแก้ไข ในกรณีของผู้ที่ไม่สามารถสื่อความรู้สึกและภาวะอารมณ์กับผู้อื่นได้
ผู้บริหารอาจโยกย้ายให้ไปทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้คนมากนัก ทำคนเดียวได้สำเร็จ หาพนักงานที่กล้าแสดงออกและมีมนุษยสัมพันธ์ดีมาเป็นเพื่อนชวนพูดคุยกระตุ้นให้เขาได้มีโอกาสแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น โดยรู้สึกว่ามีคนยอมรับฟังตน
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานสำหรับตนเอง
1. รู้ทัน ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณา เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดงอารมณ์มากขึ้น
2. รับผิดชอบ เมื่อเกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ท้อแท้ ให้ฝึกคิดอยู่เสมอว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรหัดแยกแยะ วิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล ไม่คิดเอาเองด้วยอคติหรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้การตีความในปัจจุบันผิดพลาดได้
3. จัดการได้ อารมณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นสามารถคลี่คลายสลายให้หมดไปด้วยการรู้เท่าทันและหาวิธีจัดการที่เหมาะสม เช่น ไม่จ่อมจมอยู่กับอารมณ์นั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยหางานหรือกิจกรรมทำ เพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับงาน เป็นการสร้างความเพลิดเพลินใจขึ้นมาแทนที่อารมณ์ไม่ดีที่มีอยู่
4. ใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน
5. เติมใจให้ตนเอง โดยการหัดมองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น
6. ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่าปัจจุบันกำลังสุขหรือทุกข์อย่างไร อาจเป็นสมาธิอย่างง่าย ๆ ที่กำหนดจิตใจไว้ที่ลมหายใจเข้าออก การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ และมีกำลังใจในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
7. ตั้งใจให้ชัดเจน กำหนดจิตใจตนเองว่าต่อไปนี้จะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานให้ชัดเจน
8. เชื่อมั่นในตนเอง จากงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่มีความเชื่อมั่น
ในตนเองจะมีความสำเร็จในการทำงานและการเรียนมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
9. กล้าลองเพื่อรู้ การกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่ยากกว่าในระดับที่คิดว่าน่าจะทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558
การตรวจสอบและขอเบิกเงินเดือนในระบบจ่ายตรงเงินเดือน
ความรู้เกี่ยวกับ : การตรวจสอบและขอเบิกเงินเดือนในระบบจ่ายตรงเงินเดือน
โดย : นางปานทิพย์ วิทยประพัฒน์
ส่วนบริหารการจ่ายเงิน 2 สำนักบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ
การตรวจสอบและขอเบิกเงินเดือน เมื่อส่วนราชการ ส่งรายละเอียดขอเบิกเงินเดือนมาให้กรมบัญชีกลาง
กรมบัญชีกลาง (สรจ.1) ดำเนินการในระบบจ่ายตรงเงินเดือน ดังนี้
1. ทำการโอนย้ายข้อมูล ของส่วนราชการนั้นเข้าสู่ระบบจ่ายตรงเงินเดือน เมื่อ สรจ.1 ทำการโอนย้ายข้อมูลแล้ว ส่วนราชการจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลการเบิกจ่ายได้อีก
2. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบข้อมูลสรุปงบบุคลากรกับข้อมูลการจ่ายตรง (เบิกจ่ายรายเดือน) กรณีพบข้อผิดพลาด ให้แจ้งส่วนราชการดำเนินการแก้ไข และ สรจ.1 ทำการยกเลิกการโอนย้ายข้อมูล
3.พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการที่ไม่มีเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร
4. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการเงินรับสุทธิติดลบหรือเท่ากับศูนย์
5. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการเงินรับสุทธิน้อยกว่าค่าธรรมเนียม
6. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการที่มีเงินตกเบิก
7. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการที่เงินได้สุทธิเปลี่ยนแปลง
8. ทำการอนุมัติการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายตรง
9. พิมพ์แบบแจ้งการโอนเงินเดือนของส่วนราชการ ตรวจสอบการขอเบิกตามหมวดรายจ่ายต่างๆ
10.พิมพ์สรุปรายการแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชี ตรวจสอบการขอเบิก
11.ทำการบันทึกวันที่ทำการอนุมัติการโอนเงิน
12.ทำการบันทึกกำหนดวันอนุมัติสั่งจ่ายเงิน
กรณีที่ส่วนราชการ ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเบิกจ่ายให้ สรจ.1 ทำการ ยกเลิกแบบแจ้งใบโอนเงินเดือน , ยกเลิกการอนุมัติ , ยกเลิกการโอนย้ายข้อมูล เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขต่อไป
กรณีส่วนราชการขอแก้ไขเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร เช่น ผู้มีสิทธิปิดบัญชีเงินฝากเดิมไปเปิดบัญชีใหม่ แล้วแจ้งผู้เบิกหลังจากมีการขอเบิกไปกรมบัญชีกลางแล้ว หากกรมบัญชีกลางยังไม่ดำเนินการโอนเงิน สรจ. 1 สามารถแก้ไขเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ให้ได้ รวมถึงกรณีผู้มีสิทธิลาออกระหว่างเดือน เสียชีวิตระหว่างเดือน ฯลฯ ส่วนราชการขอให้ สรจ.1 แก้ไขเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ของผู้มีสิทธิ เป็นบัญชีเงินฝากของส่วนราชการก็สามารถแก้ไขได้
เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
1.บันทึกรายละเอียดเงินงบประมาณขอเบิก เงินเดือน (GFMIS. ขบ.02) ตามแบบแจ้งการโอนเงินเดือนของส่วนราชการประกอบด้วย เงินเดือน, ภาษีเงินได้ , หนี้ (หนี้ส่วนราชการ และ/หรือ หนี้บุคคลที่สาม) , ค่าตอบแทน เช่น เงินตอบแทนพิเศษ, เงินสะสม, เงินสมทบ เงินชดเชย, เงินอื่นที่เบิกจากงบกลาง เช่น ค่ารักษาพยาบาล
2.ให้ทำการขอเบิกเงินงบประมาณในระบบ GFIMS และพิมพ์รายงาน GFMIS – SAP R/3
เอกสารการบัญชี ส่งให้ส่วนราชการ
3.บันทึกการเบิกจ่ายเงินเดือน (ตาราง EXCEL LOADER) ส่งให้เจ้าหน้าที่ (ส่วนบริหารรายรับ/ส่วนบริหารรายจ่าย ) ปลดบล็อก
4. ส่งตาราง EXCEL LOADER และ เอกสาร สรุปรายการแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชี และเอกสาร การปลดบล็อก จากส่วนบริหารรายรับ/ส่วนบริหารรายจ่าย ให้ กลุ่มบริหารการจ่ายเงิน
โดย : นางปานทิพย์ วิทยประพัฒน์
ส่วนบริหารการจ่ายเงิน 2 สำนักบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ
การตรวจสอบและขอเบิกเงินเดือน เมื่อส่วนราชการ ส่งรายละเอียดขอเบิกเงินเดือนมาให้กรมบัญชีกลาง
กรมบัญชีกลาง (สรจ.1) ดำเนินการในระบบจ่ายตรงเงินเดือน ดังนี้
1. ทำการโอนย้ายข้อมูล ของส่วนราชการนั้นเข้าสู่ระบบจ่ายตรงเงินเดือน เมื่อ สรจ.1 ทำการโอนย้ายข้อมูลแล้ว ส่วนราชการจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลการเบิกจ่ายได้อีก
2. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบข้อมูลสรุปงบบุคลากรกับข้อมูลการจ่ายตรง (เบิกจ่ายรายเดือน) กรณีพบข้อผิดพลาด ให้แจ้งส่วนราชการดำเนินการแก้ไข และ สรจ.1 ทำการยกเลิกการโอนย้ายข้อมูล
3.พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการที่ไม่มีเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร
4. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการเงินรับสุทธิติดลบหรือเท่ากับศูนย์
5. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการเงินรับสุทธิน้อยกว่าค่าธรรมเนียม
6. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการที่มีเงินตกเบิก
7. พิมพ์รายงาน ตรวจสอบรายการที่เงินได้สุทธิเปลี่ยนแปลง
8. ทำการอนุมัติการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายตรง
9. พิมพ์แบบแจ้งการโอนเงินเดือนของส่วนราชการ ตรวจสอบการขอเบิกตามหมวดรายจ่ายต่างๆ
10.พิมพ์สรุปรายการแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชี ตรวจสอบการขอเบิก
11.ทำการบันทึกวันที่ทำการอนุมัติการโอนเงิน
12.ทำการบันทึกกำหนดวันอนุมัติสั่งจ่ายเงิน
กรณีที่ส่วนราชการ ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเบิกจ่ายให้ สรจ.1 ทำการ ยกเลิกแบบแจ้งใบโอนเงินเดือน , ยกเลิกการอนุมัติ , ยกเลิกการโอนย้ายข้อมูล เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขต่อไป
กรณีส่วนราชการขอแก้ไขเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร เช่น ผู้มีสิทธิปิดบัญชีเงินฝากเดิมไปเปิดบัญชีใหม่ แล้วแจ้งผู้เบิกหลังจากมีการขอเบิกไปกรมบัญชีกลางแล้ว หากกรมบัญชีกลางยังไม่ดำเนินการโอนเงิน สรจ. 1 สามารถแก้ไขเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ให้ได้ รวมถึงกรณีผู้มีสิทธิลาออกระหว่างเดือน เสียชีวิตระหว่างเดือน ฯลฯ ส่วนราชการขอให้ สรจ.1 แก้ไขเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ของผู้มีสิทธิ เป็นบัญชีเงินฝากของส่วนราชการก็สามารถแก้ไขได้
เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
1.บันทึกรายละเอียดเงินงบประมาณขอเบิก เงินเดือน (GFMIS. ขบ.02) ตามแบบแจ้งการโอนเงินเดือนของส่วนราชการประกอบด้วย เงินเดือน, ภาษีเงินได้ , หนี้ (หนี้ส่วนราชการ และ/หรือ หนี้บุคคลที่สาม) , ค่าตอบแทน เช่น เงินตอบแทนพิเศษ, เงินสะสม, เงินสมทบ เงินชดเชย, เงินอื่นที่เบิกจากงบกลาง เช่น ค่ารักษาพยาบาล
2.ให้ทำการขอเบิกเงินงบประมาณในระบบ GFIMS และพิมพ์รายงาน GFMIS – SAP R/3
เอกสารการบัญชี ส่งให้ส่วนราชการ
3.บันทึกการเบิกจ่ายเงินเดือน (ตาราง EXCEL LOADER) ส่งให้เจ้าหน้าที่ (ส่วนบริหารรายรับ/ส่วนบริหารรายจ่าย ) ปลดบล็อก
4. ส่งตาราง EXCEL LOADER และ เอกสาร สรุปรายการแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชี และเอกสาร การปลดบล็อก จากส่วนบริหารรายรับ/ส่วนบริหารรายจ่าย ให้ กลุ่มบริหารการจ่ายเงิน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)