วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การพัฒนาโครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan)

พักเบรคปันความรู้ของ    สำนักงานคลังเขต ๕
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
นายคีรีวัฒน์  จันทร์มณี>>>>>
ตำแหน่ง :  นักวิชาการคลังชำนาญการ
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
นายคีรีวัฒน์  จันทร์มณี>>>>>
ตำแหน่ง :  นักวิชาการคลังชำนาญการ
ความรู้เกี่ยวกับ  :การพัฒนาโครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan)
การพัฒนาโครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
(National e-Payment Master Plan)
จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) อย่างครบวงจร ซึ่งจะนำมาสู่ 
(1) การเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน (Payment Infrastructure Development) 
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax System) 
(3) การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งบูรณาการระบบสวัสดิการสังคม (Social Welfare) 
(4) การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) และ 
(5) การส่งเสริม e-Payment ในทุกภาคส่วน (Cashless Society) 
อันจะทำให้ธุรกรรมทางการเงินและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ดำเนินไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นกลไกสำคัญในการยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจและของประเทศไทย และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างความมั่นคงให้กับระบบบริหารจัดการการเงินการคลัง
อีกทั้งแผนยุทธศาสตร์นี้ยังจะช่วยสนับสนุนนโยบายอื่น ๆ ของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่ นโยบาย Digital Economy โครงการระบบตั๋วร่วมของกระทรวงคมนาคม นโยบายกองทุนการออมแห่งชาติ นโยบายการส่งเงินช่วยเหลือแก่ประชาชนในกรณีต่างๆ ของภาครัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ National e-Payment Master Plan ประกอบด้วยแผนงานสำคัญ 5 โครงการ ได้แก่ 
(1) โครงการระบบการชำระเงินแบบ Any ID (นานานาม) 
(2) โครงการการขยายการใช้บัตร
(3) โครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 
(4) โครงการ e-Payment ภาครัฐ 
(5) โครงการการให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 
ซึ่งในการขับเคลื่อนโครงการทั้ง 5 จะดำเนินการผ่าน “คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์
(National e-Payment” โดยจะเร่งดำเนินการตามแผนและคาดว่าในส่วนแรกจะพร้อมใช้งานได้              ในช่วงกลางปี 2559
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และประเทศในภาพรวมจะได้รับประโยชน์โดยรวมจากการดำเนิน   การตาม National e-Payment Master Plan ดังนี้
1)  ประชาชน : จะช่วยยกระดับวิถีชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและบริการ e-Payment ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมการขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทดแทนการใช้เงินสด จากการกระจายจุดรับชำระเงิน   ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และการทำให้การโอนเงินและการรับชำระเงินสามารถทำได้โดยง่ายโดยใช้เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือหมายเลขกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ นอกเหนือ จากการใช้เลขที่บัญชีธนาคารอย่างในปัจจุบัน
นอกจากนั้น ประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือกลุ่มผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจะมีช่องทางการขึ้นทะเบียนที่เข้าถึงได้ง่าย โดยดำเนินการผ่านสาขาของสถาบันการเงินซึ่งจะมีระบบการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้ง ประชาชนจะสามารถใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการรับเงินช่วยเหลือ และนำไปใช้จ่ายผ่านร้านค้าหรือนำไปใช้กับบริการต่าง ๆ ของภาครัฐตามที่รัฐบาลจะกำหนดต่อไป  เช่น ระบบขนส่งสาธารณะและระบบการรักษาพยาบาล เป็นต้น
2)  ภาคธุรกิจ : จะสามารถพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) จากการโอนเงินและการรับชำระเงินเพื่อการค้าและการบริการผ่านระบบ e-Payment ที่ครบวงจร ด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถรับชำระเงินได้หลากหลายรูปแบบขึ้นโดยระบบ e-Payment นี้ ท้ายที่สุดแล้วจะเข้ามาทดแทนวิธีการชำระเงินแบบเดิม ๆ ที่ใช้เงินสดหรือเช็คซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนกระบวนการและเอกสารต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ
3)  ภาครัฐบาล : จะช่วยให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลทะเบียนที่ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน สามารถบริหาร          จัดการเงินช่วยเหลือได้ตรงตามวัตถุประสงค์ มั่นใจว่าจะถึงมือประชาชนอย่างถูกต้อง และลดโอกาสเกิดการทุจริตซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐสามารถบริหารจัดการเงินงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น
นอกจากนั้น การบูรณาการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุนของระบบ ผ่านการพัฒนาระบบ e-Tax Invoice ระบบนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม และระบบนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลภาษีที่ครบถ้วนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายการบริหารจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและเป็นธรรม อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการรายได้ที่ดีเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป
4)  ประเทศในภาพรวม : แผนยุทธศาสตร์นี้คาดว่าจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนของระบบเศรษฐกิจในภาพรวมได้ประมาณ 75,000 ล้านบาทต่อปี จาก ประชาชน ที่จะสามารถลดต้นทุนจากการพกพาเงินสด      และหันมาใช้การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน และมีความสะดวกมากขึ้นจากการเชื่อมโยงของระบบชำระเงินผ่านช่องทางที่หลากหลาย จาก ภาคการธนาคาร ที่จะสามารถประหยัดต้นทุนประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี จากการลดต้นทุนการพิมพ์ธนบัตร การบริหารจัดการเงินสดและเช็ค และต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินสดที่เก็บไว้ ในศูนย์จัดการเงินสด จาก ภาคธุรกิจ รวมถึงร้านค้าที่สามารถประหยัดต้นทุนประมาณ 45,000 ล้านบาทต่อปีจากการลดต้นทุนการบริหารจัดเก็บเงินสดและเช็ค และการพิมพ์และจัดส่งเอกสารใบกำกับภาษี

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างชาญฉลาดและ กินอย่างไรจึงได้สุขภาพดี สำหรับทุกเพศ ทุกวัย



พักเบรกปันความรู้ของสำนักงานคลังเขต 1 
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
คุณอิมรอน  กระจ่างพัฒน์ >>>>>
ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
                       คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง) 
                       คุณสร้อยสุฎา  อินตา>>>>
                       ตำแหน่ง :  นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างชาญฉลาดและ กินอย่างไรจึงได้สุขภาพดี สำหรับทุกเพศ ทุกวัย
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างชาญฉลาด
ถ้าคุณต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและได้ประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณต้องออกกำลังกายแบบชาญฉลาด  คือ เริ่มต้นอย่างถูกวิธี เลือกให้เหมาะกับเพศและวัยของตนเอง รวมถึงสังขารที่เราปล่อยปละละเลยมานาน ฉะนั้นแนวทางที่ชาญฉลาดและดีที่สุดก็คือให้จำหลัก 4 อย่างคือ BEST
B(Body) คือจะต้องเตรียมร่างกายหรือพูดง่ายๆคือ เจียม Body (ร่างกาย) ซึ่งบางครั้งดูจากภายนอกไม่ได้ ถ้าคุณขาดการออกกำลังกายช่วงประมาณ 1-2 เดือน สมรรถภาพทางกายของคุณจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
E(Enjoy) คือ ความพึงพอใจและสนุกสนานเมื่อออกกำลังกายจะมีฮอร์โมนเอ็นโดฟิน  หลั่งออกมา ทำให้รู้สึกสบาย ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจและเป็นส่วนส่งเสริมอย่างมากเมื่อออกกำลังกายไประยะหนึ่งร่างกายสามารถปรับเข้าที่แล้วควรเลือกกิจกรรมที่ชอบมาปฏิบัติจะเป็นเคล็ดลับสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
S(Safety) คือ ความปลอดภัย เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระวังอย่างมาก หลายคนหลังออกกำลังกายแล้ว  ไม่รู้สึกสดชื่น เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นไม่ค่อยทัน  แสดงว่าการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬานั้นอาจจะหนักเกินไป ร่างกายรับไม่ได้หรือไม่ถูกต้อง
T(Target) คือ เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจหรือระดับความเหนื่อยที่แน่นอนและตรวจวัดได้ตลอดการออกกำลังกาย จึงจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดการบาดเจ็บง่าย เพราะในขณะออกกำลังกาย  ความหนักจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณได้ใช้พลังงานจากการสลายไขมันหรือน้ำตาลในเลือด  มีการสะสมกรดแลคติคมากน้อยเพียงใด รวมถึงระดับที่จะช่วยกระตุ้นให้ระบบฮอร์โมนและภูมิคุ้มกันทำงานหรือไม่หรือทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นหรือเปล่าโดยแบ่งออก 4 ระดับ
ระดับที่ 1   ความเหนื่อยต้องได้ 50-55% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (Max Hr =220-อายุ) เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลังกายใหม่  ผู้มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งถ้าต่ำกว่านี้เกือบจะไม่ได้อะไรเลย
ระดับที่ 2   ความเหนื่อย 55-65 % ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เหมาะสำหรับผู้ ต้องการควบคุมน้ำหนักเพราะร่างกายจะสลายไขมันเป็นพลังงานและกระตุ้นทำให้ระดับฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เช่น ระดับฮอร์โมนเพศของชายวัยกลางคนจะไม่ลดลงอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติ
ระดับที่ 3  ความเหนื่อย 65-85 % ของอัตราเต้นหัวใจสูงสุด เหมาะสำหรับผู้ต้องการเพิ่มสมรรถภาพหัวใจให้แข็งแรงขึ้น หรือฟิต ขณะออกกำลังกายและเล่นกีฬาจะเหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็ว ดังนั้นในวัยหนุ่มสาวจำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อยกระดับสมรรถภาพหัวใจให้สูงขึ้นก่อนเพราะถ้าอายุมากกว่า 45 ปี แล้วจะมีความเสื่อมถอยของร่างกายอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับระดับฮอร์โมนเพศที่ลดลง
ระดับที่ 4 ความเหนื่อย 85-95% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ระดับนี้เหมาะกับนักกีฬาที่ฝึกซ้อมเพื่อชัยชนะหรือการแข่งขันเท่านั้น ซึ่งนักกีฬาเองก็จะอยู่ในช่วงนี้เป็นระยะเวลาสั้นๆ
*หมายเหตุ นอกจากกำหนดเป้าหมายความเหนื่อยแล้วควรคำนึงถึงเวลาควบคู่ไปด้วย ควรอยู่ในช่วง 15-60 นาที และก่อนออกกำลังกายต้องอบอุ่นร่างกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ จากนั้นเมื่อออกกำลังกายเสร็จต้องเบาเครื่อง (Cool down) คลายกล้ามเนื้อทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
กินอาหารอย่างไร? เพื่อสุขภาพดี
1.กินอาหารหลายๆ ชนิด
ทั้งนี้เพื่อร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ วิธีปฏิบัติสำหรับคนไทย คือ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และในแต่ละหมู่ควรสลับชนิดกันไป ไม่ควรซ้ำซากจำเจอยู่เพียงไม่กี่ชนิด
อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น กุนเชียง หมูหยอง ลูกชิ้น  แฮม ฯลฯ นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้ง (เช่น เต้าหู้ เนื้อเทียม ฯ) เนยแข็ง (cheese) ฯลฯ
อาหารหมู่ที่ 2 ได้แก่ ข้าว  แป้ง น้ำตาล ผลิตภัณฑ์จากแป้ง (เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว  บะหมี่ ขนมจีน สปาเก็ตตี้  มักกะโรนี  ขนมปัง ขนมไทยที่ใช้แป้ง ฯลฯ) มัน ฯลฯ
อาหารหมู่ที่ 3    ได้แก่ผักชนิดต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 4    ได้แก่ผลไม้ชนิดต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 5    ได้แก่ ไขมันในเนื้อสัตว์และในอาหารต่างๆ กะทิ เนยเหลว (Butter) เนยขาว (Shortening)  
2. หลีกเลี่ยงการกินอาหารไขมันอิ่มตัวหรือโคเลสเตอรอลมากเกินไป กินไขมันไม่อิ่มตัวแทน
- กินเนื้อปลาแทน เนื้อวัว  เนื้อหมู
- ปรุงอาหารด้วยน้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์  ยกเว้น น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันปาล์ม
3. กินอาหารที่มีใยอาหารให้เพียงพอ
ใยอาหารช่วยในการขับถ่าย ลดอาการท้องผูก ลดปริมาณไขมันในเลือด , ไขมันที่สะสมใต้ผิวหนัง           4. หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาลมากเกินไป
ควบคุมน้ำตาลขนมหวานและผลไม้ที่มีรสหวาน
5.หลีกเลี่ยงการกินเกลือมากเกินไป
ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงไป ควรใช้ปรุงรสแต่น้อยในการประกอบอาหาร
6.รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม