วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

18 วิธีเสริมทัศนคติและพลังในการทำงาน


ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
นางดาวเรือง  ต้องใจ >>>>>
ตำแหน่ง :  พนักงานพิมพ์ ส.3
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นางวรารัตน์  ต้อยแก้ว >>>>>
ตำแหน่ง: เจ้าหน้าที่ธุรการ


ความรู้ที่แบ่งปัน  :  18 วิธีเสริมทัศนคติและพลังในการทำงาน
1. หาแรงบันดาลใจระหว่างการเดินทาง
ส่วนใหญ่เราจะใช้เวลาในการเดินทางไม่ว่าจะมุดดินหรือลอยฟ้า
ไปจมปลักกับโซเชียลเน็ตเวิร์กเสียเป็นส่วนใหญ่ ลองเปลี่ยนมาฟัง
Podcast หรือ Audio Book หรือฟังเพลงที่ทำให้สร้างแรงบันดาลใจ
ดูไหมครับ แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำ podcast อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวไปสำหรับมนุษย์ไทยลองหยิบหนังสือมาอ่านระหว่างทางดีไหมครับ อาจจะเป็นหนังสืออ่านเล่น หรือแนวการสร้างแรงบันดาลใจก็ได้ครับ ซึ่งปกติเวลาผมไปทำงานผมจะพกหนังสือ 1-2 เล่มไว้ในกระเป๋าเพื่ออ่านเวลาเดินทางหรือต้องรอใครก็ตาม
2. ถึงที่ทำงานก่อนเวลาทำงาน การมาก่อนเวลาทำให้เราสามารถโฟกัสว่าจะมีสิ่งใดต้องทำบ้างในวันนี้ สามารถจัดความสำคัญของงานได้ แถมยังเงียบด้วยเพราะคนอื่นเขายังไม่มากัน

3. เช็คอีเมล หลายคนเลือกเชคเมลเป็นกิจกรรมแรกหลังจากเปิดคอมพิวเตอร์ หรือจ้องจะเชคเมลตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ ลองเปลี่ยนเวลาการเชคเมลดูไหมครับ กำหนดเวลาเป็นช่วงๆ (ไม่หลินฮุ่ย) เช่น จะเชคทุก 10 โมง และ 4 โมงเย็น เป็นต้น (วิธีนี้แนะนำเหมือนในหนังสือทำน้อยให้ได้มาก The Power of Less)

4. เวลาที่ใช้ไปในการทำงาน    ลองคิดดูว่าคุณทำงานบางอย่างโดยเสียเวลาไปแทบทั้งวันหรือเปล่า? แล้วงานที่ทำไปนั้นสำคัญขนาดไหน ลองหันมาโฟกัสงานที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกดูไหมครับ เมื่อเสร็จแล้วจึงค่อยดูอันถัดๆ ไป

5. วางแผนการทำงาน     ลองวางแผนว่าในวันนี้คุณจะทำอะไรบ้าง มี Objective อะไรบ้างที่ต้องทำ หรือจะวางเป็นรายสัปดาห์ก็ได้เช่นกันครับ เพื่อให้เห็นภาพรวมในการทำงานทั้งหมด
6. หาเวลาพักบ้าง   ลองกำหนดช่วงเวลาในการเบรค หยุดพักการทำงานของคุณเป็นช่วงเวลา เพราะคนเราคงไม่สามารถจดจ่อได้รวดเดียว 4 ชั่วโมง 8 ชั่วโมงแน่ๆ ครับ การพักทำให้เราอาจจะได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ หรือเป็นการทบทวนสิ่งที่เราทำอยู่ก็เป็นได้ครับ
7. การประชุม ให้ดำเนินการประชุมให้อยู่ในหัวข้อ และสนใจที่จะเข้าร่วมฟังหรือออกความเห็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เมื่อออกจากห้องประชุมแล้วเราจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่าเราต้องทำอะไรและมีเป้าหมายในการทำเป็นอย่างไร

8. ออกกำลังกาย หาเวลาในการออกกำลังกายบ้างนะครับ การออกกำลังนอกจากจะช่วยลดความเครียดแล้ว ยังสามารถจะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้ดีขึ้นจากสมองที่ปลอดโปร่ง
9. ความรอบคอบ ความเร็วในการทำงานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่เมื่อเร็วแล้วก็ต้องแลกกับอัตราความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาด ลองลดความเร็วแล้วตรวจทานให้ดี เพื่อที่จะไม่ต้องกลับมาทำใหม่อีกรอบครับ
10. การสนับสนุน  ลองดูว่าสิ่งที่คุณทำไปสำเร็จมีอะไรบ้างแล้วแชร์ให้คนอื่นได้รับรู้บ้างเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอืนๆ รวมทั้งสนับสนุนงานของเพื่อนร่วมงานของคนอื่นๆ ด้วย
11. การร่วมกันทำงาน  อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ลองให้คนอื่นๆ หรือถามไอเดียจากคนอื่นๆ ดูหากเราไม่สามารถคิดงานหรือทำงานต่อไปได้ (แต่ก็อย่าขอกันบ่อยจนพร่ำเพรือ)
12. เข้าใจและยอมรับ  ฟังดูปลงๆ หน่อยนะครับ แต่หากเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คงต้องทำกันต่อไปให้ดีที่สุด (และอย่าลืมหาโอกาสที่ดีกว่าให้ตัวเองด้วย)
13. วันหยุด สุดๆ ไปเลย! วันหยุดหลายๆ คนเลือกจะไปเดินห้างบ้าง อ่านหนังสือบ้าง ลองหาอะไรทำใหม่ๆ ดูไหมครับแบบไม่ซ้ำกัน เช่น ลองออกไปต่างจังหวัด, ไปปีนเขา, ออกกำลังกายที่ไม่ใช่ในฟิตเนส (อุดอู้อยู่ในร่มทำไม ออกไปกลางแจ้งดีกว่า), เปลี่ยนที่อ่านหนังสือพร้อมจิบกาแฟชิลๆ

14. คิดบวก อาจฟังดูโลกสวยไปสักนิด แต่การมีอารมณ์คิดบวกนั้น จะมีผลกับงานที่คุณทำ รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่จะได้ประจุบวกจากการทำงานที่มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวกไปด้วย
15. เห็นอกเห็นใจ แม้เราจะพยายามคิดบวกแล้ว แต่ก็ต้องมีเพื่อนร่วมงานบางคนที่ยังคงติดอยู่กับความคิดไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวในแง่ลบอยู่ ครั้นเราจะเพิกเฉยไปเลยก็เหมือนเป็นการปล่อยลอยแพ ดังนั้นสิ่งที่เราน่าจะพอทำได้ก็คือลองยื่นมือให้ความช่วยเหลือด้วยการช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองให้เป็นด้านบวก ลองชี้แจงด้วยเหตุและผล ซึ่งถ้าเขาเปิดใจรับฟังน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากครับ (ในบทความที่ดึงมาบอกว่า หากเขาได้อ่านบทความนี้ด้วยจะดีมาก)
16. การเมืองในที่ทำงาน มันเป็นเรื่องเหนือการควบคุมของเรา ซึ่งการมีเรื่องนี้แน่นอนว่าจะทำให้งานและธุรกิจไม่มีความก้าวหน้าถ้ามัวจมปลักกับเรื่องนี้ สำหรับในส่วนของงานของเราแล้ว เราหันมาโฟกัสกับสิ่งที่ทำเพื่อให้งานก้าวหน้าและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ดีกว่าจะไปหมกมุ่นเรื่องนั้นครับ

17. การติชม คนเราย่อมชอบการชม มากกว่าคำตำหนิติเตียนใช่ไหมครับ บางครั้งเราก็ต้อง(พยายาม)เข้าใจในคำเตือนนั้นแม้มันจะไม่น่าฟังก็ตาม ดังนั้นเราก็ควรพิจารณาเลือกฟังคำติเตียนที่สามารถจะเอาไปใช้ในการปรับปรุงงานของเราให้ดีขึ้นได้ นอกนั้นก็คงต้องปล่อยวางนะครับ
18. การปรับตัว ไม่มีสิ่งไหนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจ, การงานก็เช่นกัน เราคงไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะปรับตัวให้กับสภาพและสภาวะการณ์ในปัจจุบันให้ได้ หากว่าคุณอยู่ในระดับบริหาร ลองใช้ประสบการณ์บอกเล่าว่าเราควรต้องทำอย่างไรมากกว่าจะเป็นตัวตั้งตัวตี รอต่อต้านเพียงอย่างเดียว

การใช้บริการ GFMIS Package สำหรับลูกค้าหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบ KTB Corporate Online


ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
คุณ  เนตรยา  วุฒิพันธ์
ตำแหน่ง  นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)               
คุณ   อุไร  อำนวยตระกูล
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน  สำนักงานคลังเขต ๙


ความรู้เกี่ยวกับ  :  การใช้บริการ  GFMIS Package สำหรับลูกค้าหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบ KTB Corporate Online

การใช้บริการ  GFMIS Package
สำหรับลูกค้าหน่วยงานภาครัฐ ผ่านระบบ  KTB Corporate Online
KTB Corporate Online คือ KTB Internet Banking  สำหรับหน่วยงาน
GFMIS ( Government Fiscal Management Information) เป็นระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนำส่งเงินจากคลังไปยังกรมบัญชีกลาง/คลังจังหวัด ซึ่งการนำส่งแต่ละครั้งจะสามารถระบุประเภทเงินที่นำส่ง ได้แก่ รายได้แผ่นดิน ,เงินฝากคลัง,เบิกเกินส่งคืน ส่งแทนเช็คขัดข้อง และ Interface รายได้แล้วตรวจสอบเงื่อนไขการนำส่ง พร้อมตรวจสอบเลขที่ใบนำฝากศูนย์ต้นทุนที่ถูกต้อง



สิ่งที่ได้รับหลังเปิดบริการ  GFMIS on KTB Corporate Online
1.Company ID ธนาคารจะแจ้งกลับไปกรมบัญชีกลาง เพื่อแจ้งหน่วยงาน
2.User Password ของ  ADMIN1 และ  ADMIN 2 ส่งผ่านทาง  e-mail
3.คู่มือการใช้บริการ GFMIS  on KTB Corporate Online
4.โปรแกรม KTB Universal Data Entry
โปรแกรมและอุปกรณ์
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ Internet
2.ระบบปฏิบัติการขั้นต่ำ  Window XP SP3  หรือ OS X 10.9
3.เบราว์เซอร์
-Internet Explorer  เวอร์ชั้น 8 ขึ้นไป
-Google Chrome   เวอร์ชั้น 30 ขึ้นไป
-Mozilla Firefox     เวอร์ชั้น 27 ขึ้นไป
-Safari  เวอร์ชั้น 8 ขึ้นไป
4.โปรแกรม  KTB Universal Data Entry
โครงสร้างผู้ใช้งานระบบ  KTB Corporate Online
Company  Admin   ผู้ดูแลระบบ
-ADMIN 1
-ADMIN 2
Company  User    ผู้ใช้งาน
-MAKER
-AUTHORIZER
โครงสร้างผู้ใช้งานระบบ  KTB Corporate Online
ADMIN 1  ใช้สร้าง user เพิ่ม ,เพิ่มลดสิทธิการใช้งาน
ADMIN 2  อนุมัติสร้าง user เพิ่ม ,เพิ่มลดสิทธิการใช้งาน, Unlock และ Reset Password
MAKER เรียกดูข้อมูลบัญชี ,ทำรายการ GFMIS และทำรายการโอนเงิน
AUTHORIZER  เรียกดูข้อมูลบัญชี ,อนุมัติทำรายการ GFMIS และทำรายการโอนเงิน
ข้อควรทราบเกี่ยวกับ  Password
1.Password ต้องมีตัวอักษรภาอังกฤษพิมพ์เล็กผสมกับตัวเลขรวมกันแล้ว  8 – 20 หลัก
2.Password ไม่หมดอายุ บังคับเปลี่ยนตอนตอนเข้าสู่ระบบครั้งแรก
3.จำ Password ไม่ได้
ADMIN 1, ADMIN 2 ต้องติดต่อสาขาเจ้าของบัญชี เพื่อกรอกแบบฟอร์ม Reset  Password
MAKER , AUTHORIZER ติดต่อ ADMIN 2 เพื่อขอ Reset
4.พิมพ์  Password ผิด 3 ครั้ง User จะไม่สามารถใช้งานได้ (User is Lock)
ADMIN 1, ADMIN 2 ต้องติดต่อสาขาเจ้าของบัญชี เพื่อกรอกแบบฟอร์ม Reset  Password
MAKER , AUTHORIZER ติดต่อ ADMIN 2 เพื่อปลด Lock
ทุกครั้งที่ออกจากระบบให้กดปุ่ม Logout
หากกดปิดหน้าจอเลย User จะค้างในระบบ 15 นาที ไม่สามารถใช้งานได้ต้องรอ 15 นาที ค่อยlogin ใหม่
การกำหนดสิทธิเพื่อใช้งาน KTB Corporate Online
1.สร้าง  User และกำหนดสิทธิเพื่อใช้งาน GFMIS ( Maker Authorizer)
2.กำหนดเงื่อนไขวงเงินการอนุมัติ  LOA (Line of Authorization) บริการ GFMIS
โดยหน่วยงาน (ADMIN 1 และ ADMIN 2) ทำรายการผ่าน KTB Corporate Online
Reference  คือ  หมายเลขอ้างอิงการทำรายการ ADMIN 1 เป็นผู้กำหนดเพื่อใช้แจ้ง    ADMIN 2 เช่น 04065901 (วันเดือนปี+ครั้งที่ทำ) หรือกำหนดเป้นอย่างอื่นก็ได้แต่ต้องไม่ซ้ำกับ Reference เดิมที่เคยใช้
User ID  คือ รหัสผู้ใช้งาน  maker 1, auth 1,chalee
User Name คือ ชื่อ นามสกุล ของผู้ใช้งาน
Citizen ID คือ หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
Position  คือ ตำแหน่งของผู้ใช้งาน
Department คือ หน่วยงานของผู้ใช้งาน
Authorize Class คือ กลุ่มของผู้อนุมัติ หากมีกลุ่มเดียวให้ระบุเป็น A เท่านั้น
Role คือ บทบาทของผู้ใช้งาน เลือกได้ 2 บทบาท
Company  Maker = Maker ผู้ทำรายการ
Company Authorizer = Authorizer ผู้อนุมัติรายการ
Phone คือ หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานที่ทำงานของผู้ใช้งาน
Mobile คือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งาน
Fax  คือ หมายเลขโทรสารพื้นฐานที่ทำงานของผู้ใช้งาน
  e –mail  คือ   email ของผู้ใช้งาน
Notification Received ให้ระบุเป็น Yes เท่านั้น

การถนอมสายตา


ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
นางสาวศิริรัตน์  แซ่วี >>>>>
ตำแหน่ง : นิติกร
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นายตามฤกษ์  เพชรมณี
ตำแหน่ง : นิติกร

ความรู้เกี่ยวกับ : การถนอมสายตา
*** ดวงตา เป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสง การมองในบริเวณที่แสงมีความเข้มมากกับบริเวณที่มีความเข้มแสงน้อย  อาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา หรือทำให้สายตาของเราเสียได้
เรตินา เป็นส่วนของตาที่เสียหายได้ เมื่อได้รับแสงที่มีความสว่างเกินความสามารถของการรับรู้ของมัน เมื่อเราดูวัตถุหรือสิ่งต่างๆ ที่วางอยู่กลางแดดหรือบนหาดทรายขาว เราจะรู้สึกตาพร่าหรือบางครั้งก็รู้สึกตามัว นั่นเป็นเพราะว่า เรตินาของตา ถูกกระตุ้นจนเกินไปทำให้การตอบสนองช้า ถ้าเราจ้องดูวัตถุที่มีความสว่างมากต่อไป การตอบสนองก็จะยิ่งช้าลง ในกรณีที่ดูวัตถุ   ที่มีความสว่างสูงมาก เรตินาจะถูกทำลายจนใช้การไม่ได้ตลอดไปซึ่งหมายความว่า ตาคนๆ นั้นก็จะบอดนั่นเองค่ะ

สำหรับคนที่ทำงาน OFFICE พูดได้เลยว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงที่สามารถทำร้ายสายตาของคุณได้ตลอดเวลาเพราะไม่ว่าจะทำงานอะไร ก็จะต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ด้วยเสมอ ทั้งการทำงาน การเรียน การพักผ่อน เช่น เล่นเกม ดูภาพยนตร์ และยิ่งในสมัยนี้มีอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ทเข้ามาอีก ทำให้สายตาของเราต้องเพ่งหน้าจออยู่แทบจะตลอดเวลา นานวันเข้า  ก็เริ่มที่จะเกิดปัญหาทางด้านสายตา เช่น อาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า สายตาสั้น หรือผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการปวดหัว ปวดหลัง เมื่อยคอ จากสถิติพบว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ประสบกับปัญหาเหล่านี้มากทีเดียว

ถ้าหากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่านั้น หรือไม่ก็เริ่มมีอาการอย่างที่บอกบ้างแล้ว ก็ควรที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพราะในเมื่อการจะให้ใช้เวลากับคอมพิวเตอร์น้อยลงคงเป็นเรื่องยาก ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้คือ การชะลอการทำร้ายสายตาให้ช้าลง ทำให้สายตาเรารู้สึกสบายมากขึ้นเวลาจ้องหน้าจอ และที่สำคัญวิธีทั้งหมดนี้ง่ายต่อการปฏิบัติตามค่ะ ก่อนที่จะสายเกินแก้



เรามาดูแลดวงตาของเราด้วยวิธีง่ายๆ กันเถอะค่ะ
1. กะพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้งเกิดจากการที่เรากะพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงาน    หน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะลดลงจาก 20-22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6-8 ครั้งต่อนาที จึงควรที่จะกะพริบตา   ให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2. จัดวางตำแหน่งคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50-70 ซม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาประมาณ 4-9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
3. แก้ปัญหาเรื่อง “ขนาด” ความละเอียดของหน้าจอ หรือ screen resolution เป็นสิ่งที่ทำให้หน้าจอ        มีขนาดแตกต่าง ยิ่งความละเอียดมากขึ้นเท่าไหร่ ขนาดของภาพก็จะเล็กลง ดังนั้นจึงควรปรับค่าความละเอียดให้พอดีกับขนาด   ของหน้าจอ ไม่ควรเล็กหรือใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้ขนาดของภาพและตัวหนังสือผิดเพี้ยนไปจากความจริง เวลาพิมพ์งาน    ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสม   จะสังเกตได้จากการที่เรายังสามารถอ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาได้ดีกว่าจอคอมพิวเตอร์แบบเก่า (CRT)
4. ปรับความสว่างของห้อง จัดให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ และควรปิดไฟบางดวงที่รบกวนการทำงานเพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้า          จากหน้าต่างควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีพื้นผิวสะท้อน      เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้านที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า
5. เลือกใช้แว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีแว่นตาที่ผลิตมาเพื่อกรองแสงจากหน้าจอโดยเฉพาะ เลนส์แว่นเคลือบด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันรังสีจากหน้าจอได้ดี และสามารถนำมาตัดเป็นแว่นสายตาสำหรับคนสายตาสั้น-ยาว ดังนั้น หากต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมเป็นเวลานาน ควรเลือกใช้แว่นประเภทนี้ และใช้เลนส์สีเขียวอ่อนที่จะช่วยให้รู้สึกสบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ
6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมงควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้างโดยละสายตาจากหน้าจอ แล้วมองออกไปในระยะไกล สัก 10 - 20 วินาที แล้วกลับมามองในระยะใกล้ ทำสลับกันไปหลายๆ ครั้ง จะช่วยให้คลายสายตาจากความเมื่อยล้าได้ดี เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
หรือลองใช้วิธีบริหารกล้ามเนื้อตาแบบง่ายๆ ดูค่ะ
1. กลอกตาขึ้น-ลงช้าๆ 6 ครั้ง โดยเหลือบตาขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด ในระหว่างการบริหารอย่าเกร็งลูกตา
2. กลอกตาไปข้างขวาและซ้ายสลับกัน โดยกลอกตาไปให้ขวาสุด และซ้ายสุด ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
3. ชูนิ้วขึ้นมาให้อยู่ในระดับสายตา ห่างจากสายตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจ้องมองไปที่ระยะไกลๆ ประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตา มองระยะใกล้ที่นิ้วมือใช้เวลามองแต่ละที่ประมาณ 2-3 วินาที ทำสลับไปมาเช่นนี้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที        ทำประมาณ 2-3 รอบ
4. กลอกตาเป็นวงกลมช้าๆ โดยเริ่มกลอกตาตามเข็มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2-3 รอบ

7. ออกไปข้างนอกบ้าง การอุดอู้อยู่ที่เดิมเป็นเวลานานๆ ทำให้สายตาเราชินกับระดับแสงเดิมๆ และรู้สึก    ตึงเครียดอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นเราควรละจากหน้าคอมสักพัก แล้วลุกออกไปเดินข้างนอก กลางแจ้งได้ยิ่งดี เพราะจะทำให้สายตา    ได้สัมผัสกับระดับแสงที่แตกต่างจากในห้อง ทำให้สมองและสายตาได้ผ่อนคลายความเมื่อยตึง โดยอาจออกไปดื่มน้ำ หาขนมทานสัก 15 นาที แล้วกลับมาผจญภัยกับงานต่อ จะทำให้รู้สึกมีพลังขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
และสุดท้าย เราควรตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง เพื่อวัดความดันตา ตรวจเช็กจอประสาทตาและความผิดปกติของสายตาเป็นประจำ เพราะโรคตาบางอย่างจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงขั้นรุนแรงแล้ว หากตรวจพบโรคตาตั้งแต่เนิ่นๆ        จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียสายตา จะได้รักษาดวงตาคู่นี้ให้อยู่กับเรานานเท่านาน
ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, คมชัดลึกออนไลน์
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76020
http://kruphysics-satri5.blogspot.com/p/blog-page_760.html
http://atcloud.com/groups/255/show_story?story_id=42206