วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

การบริหารความเสี่ยงขององค์กร


นางพิศมัย  บุญเทียม
                                              
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน    กองแผนงาน
ความรู้ที่แบ่งปัน  :  การบริหารความเสี่ยงขององค์กร
การบริหารความเสี่ยงขององค์กร คือ การบริหารความเสี่ยงของโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้การตัดสินใจโดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ต่างๆ จะช่วยให้มีความมั่นใจในผลสำเร็จว่าจะสามารถจัดการความเสี่ยงได้ และจะทำให้โครงการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การดำเนินการตามโครงการก็อาจเกิดความเสี่ยงได้อีก และอาจเกิดผลกระทบกับความสำเร็จของโครงการได้
          ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอาจมีแหล่งที่มาของความเสี่ยงทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ดังนี้
                   ความเสี่ยงภายในองค์กร  เช่น
                             -  สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย
                             -  ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
                             -  วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
                             -  การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ
                             -  ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เป็นต้น
                   ความเสี่ยงภายนอกองค์กร เช่น
                             -  การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
                             -  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
                             -  เสถียรภาพทางการเมือง
                             -  การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค
                             -  กระแสสังคมและสิ่งแวดล้อม
                             -  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย แบ่งเป็น 5 ข้อ ดังนี้
                   1.  การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)
                   2.  การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
                   3.  การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
                   4.  การสร้างแผนการจัดการ (Risk Management Planning)
                   5.  การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)

 ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
                   1.  ช่วยชี้ให้เห็นถึงปัญหาขององค์กร
                   2.  ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ เช่น การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร  
                   3.  ช่วยลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
                   4.  ช่วยในเรื่องการติดตามผล 
                   5.  ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร
                   6.  ช่วยให้การพัฒนาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรมและการเลือกใช้มาตรการในการบริหารความเสี่ยง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น