วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติ

ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
นางสาวปนัสยา  เสียงก้อง
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลัง

คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นางสาวศศิธร  ตันติพงศ์ 
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
ความรู้เกี่ยวกับ  : การเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติ
หน่วยงาน : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร


การเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติ
ภัยจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ น้ำท่วม ไฟป่า พายุ หรือโรคระบาด เป็นสิ่ง
ที่มนุษย์เราต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งภัยคุกครามจากผู้ก่อการร้าย เช่น ระเบิดพลีชีพ ตึกถล่ม อาวุธเคมี อาวุธเชื้อโรค อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ โดยไม่เลือก วัน เวลา สถานที่ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในแต่ละครั้งยังผลเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากมายมหาศาลอย่างไรก็ดี มีสิ่งหนึ่งที่พวกเราทำได้เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบานั่นคือการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติไว้ล่วงหน้า ก่อนเหตุการณ์จะเกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้วการเตรียมการรับมือภัยธรรมชาติและภัยจากผู้ก่อการร้ายจะไม่แตกต่างกันนัก เริ่มจาก
1. วางแผนสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ในแต่ละประเภท
•ศึกษาลักษณะ ข้อควรปฏิบัติ และข้อหลีกเลี่ยง ของภัยพิบัติแต่ละประเภท ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดไฟป่า ควรสวมหน้ากากกันควันไฟและอพยพไปในทิศเหนือลม หรือ เมื่อเกิดพายุ ควรอยู่ห่างจากหน้าต่างหรือหนีหลบลงไปห้องใต้ดิน เป็นต้น
•ให้ความรู้แก่ เพื่อน ญาติพี่น้อง ครอบครัว
•เตรียมพร้อมประเมินสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจที่จะอพยพหรืออยู่หลบภัยในที่พัก
•ในบางสถานการณ์ การอยู่หลบภัยในที่พักจะปลอดภัยกว่า เช่น เมื่อเกิดพายุหรืออากาศภายนอกเป็นพิษ ให้พิจารณาเลือกห้องภายในตัวอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ปิดมิดชิด มีเสบียงเพียงพอ
•ในกรณีที่ต้องอพยพ ให้กำหนดจุดนัดพบไว้หลายแห่ง ทั้งในระยะใกล้ที่สามารถเดินไปได้ จนถึงระยะไกล โดยกำหนดไว้ในทุกทิศทาง คือ เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก สำหรับคนที่มีรถยนต์ ควรเติมน้ำมันให้เหลืออย่างน้อยครึ่งถังอยู่เสมอ
•วางแผนที่จะติดต่อสื่อสารถึง เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือครอบครัว เผื่อไว้หลายๆ รูปแบบ    หากโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์มือถือใช้การไม่ได้ ก็อาจใช้อีเมลแทน อนึ่งการติดต่อข้ามเมืองอาจทำได้สะดวกกว่าการติดต่อในเมืองที่พักอยู่เพราะอาจไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
•ควรวางแผนเผื่อไว้ กรณีเกิดเหตุการณ์ขณะที่อยู่ที่สถานศึกษาหรือที่ทำงาน
•หมั่นซักซ้อมและปรับปรุงแผนที่วางไว้อยู่เสมอ
 2. เตรียมรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในกรณีฉุกเฉิน
•เอกสารสำคัญประจำตัว เช่น หนังสือเดินทาง ใบขับขี่ บัตรประกันสุขภาพ และอื่นๆ
ควรเก็บไว้ในถุงพลาสติกหรือแฟ้มที่กันน้ำได้
•อุปกรณ์กรองอากาศ เช่น หน้ากากกันแก๊สพิษหรือเชื้อโรค
•น้ำสะอาดสำหรับใช้ดื่ม อย่างน้อย 3 วัน
•อาหารแห้ง สำเร็จรูป เครื่องกระป๋อง ให้เพียงพอ อย่างน้อย 3 วัน
•เครื่องนุ่งห่ม เสื้อกันฝน เสื้อกันหนาว ถุงมือ ถุงนอน
•ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉายสำรอง
•วิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉาย
•เงินสด หรือเช็คเดินทาง
•ผ้าพันแผล ยาฆ่าเชื้อโรค ยารักษาโรคทั่วไป ยาประจำตัว
•ไม้ขีดไฟแบบกันน้ำ
•เข็มทิศ
•นกหวีด สำหรับเป่าเรียกความช่วยเหลือ
•รองเท้าที่คงทนและสวมใส่สบาย
•กระดาษชำระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น