โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง
(CoP : Community of Practice)
กิจกรรม : พักเบรคปันความรู้ของหน่วยงานภายในกรมบัญชีกลาง
(CGD Coffee Talk)
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖
ความรู้ที่แบ่งปัน : การเสริมสร้างความสุข ๕ มิติเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) นางสาวอัจฉรา จารุเสาวภาคย์ นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน
สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ
การเสริมสร้างความสุข ๕ มิติ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ
การเสริมสร้างความสุข ๕ มิติ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ
๑. สุขสบาย (Health)
หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพร่างกายให้มีสมรรถภาพร่างกายที่คล่องแคล่วมีกำลัง
สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางกายภาพได้ตามสภาพที่เป็นอยู่มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำเป็นเพียงพอ
ไม่มีอุบัติเหตุหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ
วิธีส่งเสริมให้เกิดความสุขสบายเพื่อให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไวไม่เกิดอุบัติเหตุง่าย
๑.
ออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น
ฝึกกายบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเคลื่อนไหว
และควรออกกำลังกายให้ครบทุกส่วน ทุกข้อต่อของร่างกาย ทั้งนี้
การออกกำลังกายไม่ควรออกกำลังกายแบบรุนแรงและควรทำเป็นประจำทุกวัน วันละ ๑๕-๓๐
นาที
๒.
ขณะออกกำลังกายต้องฝึกการควบคุมการหายใจให้เป็นจังหวะตามการออกกำลังกาย
โดยหายใจให้ลึกและผ่อนลมหายใจออกทางปาก
ไม่กลั้นหายใจขณะออกกำลังกายเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
๓. หลังการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ไม่ควรหยุดแบบทันทีควรออกกำลังกายต่อ
แต่ให้ช้าลงประมาณ ๕-๑๐ นาทีแล้วจึงหยุด
๔.
ใช้แรงกายในชีวิตประจำวันและทำงานอดิเรกที่ชอบ เช่น กวาดบ้าน ทำสวน
ซ่อมแซมเครื่องใช้ไม้สอยในบ้าน
๕.
ระมัดระวังการพลัดตกหกล้ม
๒. สุขสนุก (Recreation)
หมายถึง
ความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน
ด้วยการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์ เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า
วิธีส่งเสริมให้เกิดความสุขสนุกเพื่อคลายเครียด
๑.
เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการหรือกิจกรรมต่างๆ
ที่สร้างความสดชื่นและมีชีวิตชีวาอย่างสร้างสรรค์และดีงาม
๒. เล่นกีฬา ดนตรี
ศิลปะหรืองานอดิเรกที่ชอบ
๓. สุขสง่า (Integrity)
หมายถึง ความรู้สึกพอใจในชีวิต
ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง ยอมรับนับถือตนเอง ให้กำลังใจตนเองได้
เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
มีลักษณะเอื้อเฟื้อแบ่งปันและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม
วิธีการส่งเสริมให้เกิดความสุขสง่าเพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจและความมีคุณค่าในตนเอง
๑.
พยายามช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่ายๆ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับคนอื่น เช่น
กิจวัตรประจำวัน งานบ้านเล็กๆ น้อยๆ การดูแลเด็ก เป็นต้น
๒.
ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
ด้วยการไม่แทรกหรือขัดจังหวะขณะที่ผู้อื่นพูด
ยกเว้นกรณีที่สงสัยสิ่งที่ผู้พูดกำลังพูด
ต้องฟังอย่างตั้งใจเพื่อจะได้เก็บเรื่องราว ความคิด อารมณ์
ความรู้สึกของผู้พูดขณะพูด
เพื่อเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่องที่ตนเองถนัดหรือมีประสบการณ์
๓.
ฝึกวิธีการตั้งคำถามเพื่อจะได้ใช้เป็นหัวข้อในการพูดคุยสนทนากับผู้อื่น
อาจเริ่มต้นด้วยการชวนพูดคุยเรื่องที่ลูกหลานกำลังทำอยู่ เรื่องเทคโนโลยี
เรื่องข่าวสารที่กำลังเป็นประเด็น เพื่อจะได้ตามทันเหตุการณ์และโลกในปัจจุบันได้
๔.
ไม่จู้จี้ขี้บ่นและระวังการใช้คำพูดที่รุนแรงที่อาจทำให้การสนทนาไม่สร้างสรรค์
๕.
หากิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นอยู่กับความคิดเดิมๆ
อาจเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบหรือกิจกรรมแปลกใหม่
เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
๖.
ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ทั้งในครอบครัวและชุมชนตามศักยภาพที่ตนเองมี
๔. สุขสว่าง (Cognition)
หมายถึง
ความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจำ ความคิดอย่างมีเหตุผล การสื่อสาร การวางแผน
และการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการคิดแบบนามธรรม
รวมทั้งความสามารถในการจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการส่งเสริมความสุขสว่างเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองในด้านต่างๆ
๑.
ฝึกการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยรู้มาก่อน เช่น
ทำกิจกรรมด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ทำกิจวัตรประจำวัน
ที่ไม่เคยทำ
๒.
รวมกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือกลุ่มวัยอื่นๆ เพื่อพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
๓. ฝึกประสานระหว่างมือ ตา และเท้า
ด้วยการฝึกหยิบจับวัตถุชิ้นเล็กๆ เช่น ร้อยลูกปัด นั่งปั้นกระดาษหนังสือพิมพ์ ๑
คู่ ด้วยเท้าขณะดูทีวีให้กลมที่สุด เป็นต้น
๔.
เล่นเกมส์ที่สามารถฝึกฝนด้านความจำหรือฝึกสมองได้ เช่น หมากรุก อักษรไขว้ ต่อคำ
ต่อเพลง คิดเลข หรือการจดจำข้อมูลต่างๆ เช่น วัน เวลา สถานที่ บุคคล
หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
๕.
ฝึกคิดแบบมีเหตุมีผล พยายามใช้เหตุผลตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ไตร่ตรองให้รอบคอบ
จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ ให้ใครหลอกได้
อาจเริ่มจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วให้บอกเหตุผล เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงมาใช้สนับสนุนหรือคัดค้าน
หรือฝึกคาดคะเนความเป็นไปได้ของเหตุการณ์หรือข้อมูลโดยมีการนำข้อมูลทีเชื่อถือได้มาอ้างอิงและสรุปเป็นการคาดคะเนของตนเอง
๕. สุขสงบ (Peacefulness)
หมายถึง
ความสามารถของผู้สูงอายุในการรับรู้-เข้าใจความรู้สึกของตนเอง
รู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้
รวมทั้งสามารถปรับตัวและยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
วิธีการส่งเสริมความสุขสงบเพื่อปรับความคิด
บริหารจิตให้เกิดสติ สมาธิ
๑. นั่งในท่าที่สบาย
ฝึกหายใจช้าๆ ลึกๆ ใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณท้องช่วย โดยหายใจเข้าท้องป่อง
นับเลข ๑-๔ กลั้นหายใจไว้นับ ๑-๔ และหายใจออกช้าๆ นับ ๑-๘ ให้ท้องแฟบ ทำซ้ำๆ
เมื่อรู้สึกเครียด หงุดหงิด โกรธ หรือไม่สบายใจ
๒.
ฝึกคิดยืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเข้มงวด จับผิดหรือตัดสินผิดถูกตนเองและผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา
รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา ลดทิฐิ มานะ รู้จักให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคืองและปล่อยวาง
ชีวิตจะได้มีความสุขมากขึ้น
๓.
ฝึกคิดแต่เรื่องดีๆ เช่น คิดถึงประสบการณ์ที่ดี คิดถึงความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา
คำชมเชยที่ได้รับ ความมีน้ำใจ
ของเพื่อนบ้าน เป็นต้น
๔.
ฝึกคิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าคิดหมกมุ่นกับตนเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้าง
รับรู้ความเป็นไปของคนอื่น เริ่มต้นง่ายๆ
จากคนใกล้ชิดด้วยการใส่ใจช่วยเหลือ สนใจเอาใจใส่คนใกล้ชิดเราบ้าง
จากนั้นหันกลับไปมองคนรอบข้างที่มีปัญหา หนักหน่วงในชีวิต
๕. ทำสมาธิ เจริญสติ
ภาวนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น