ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
ความรู้เกี่ยวกับ : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ปรับปรุงใหม่
โดย : นางสาววิชญาพร ภาณุศานต์
กลุ่มงานอนุมัติพิเศษ สำนักกฎหมาย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมาสถานะเป็น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และรัฐวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น กรณีเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชนสามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนแทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอีก การยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใด ก็ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป เว้นแต่เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา
เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น ที่ต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายน ของทุกปี ตามกฎหมายเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่ เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด โดยใช้เกณฑ์เงินสดในการคำนวณ
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม โดย ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ) กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่าย ต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกันเกิน 100,000 บาท สำหรับผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงาน กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่าย ต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกันเกิน 60,000 บาท สำหรับกองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่ง และห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาท
กรมสรรพากรได้มีการประกาศลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 และ 2557 ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 575) พ.ศ.2556 กำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
หมายเหตุ:- เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ยังคงได้รับยกเว้น ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551
เงินได้สุทธิ
|
ช่วงเงินได้สุทธิ
แต่ละขั้น
|
อัตราภาษี
ร้อยละ
|
ภาษีแต่ละขั้น
เงินได้สุทธิ
|
ภาษีสะสม
สูงสุดของขั้น
|
1
– 150,000
|
150,000
|
ได้รับยกเว้น
|
-
|
-
|
150,001
– 300,000
|
150,000
|
5
|
7,500
|
7,500
|
300,001
– 500,000
|
200,000
|
10
|
20,000
|
27,500
|
500,001
– 750,000
|
250,000
|
15
|
37,500
|
65,000
|
750,001
– 1,000,000
|
250,000
|
20
|
50,000
|
115,000
|
1,000,001
– 2,000,000
|
1,000,000
|
25
|
250,000
|
365,000
|
2,000,001
– 4,000,000
|
2,000,000
|
30
|
600,000
|
965,000
|
4,000,001
บาทขึ้นไป
|
-
|
35
|
-
|
-
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น