วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Present Simple Tense

ชื่อผู้แบ่งปัน :  นางสาวเยาวลักษณ์ สินบุญรอด
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นิติกร
หน่วยงาน :  กลุ่มงานด้านเงินทดรองราชการ
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้  :  เบอร์โทรศัพท์ภายใน 6329



คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง) : นางสาวปิยะทิพย์ ปิยะตระภูมิ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นิติกรชำนาญการ
หน่วยงาน :  กลุ่มงานด้านเงินทดรองราชการ
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้  :  เบอร์โทรศัพท์ภายใน 6329


ชื่อกิจกรรมพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ  :  Present Simple Tense 
หัวข้อและเนื้อหารายละเอียดการพักเบรกปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
Present Simple Tense (ปัจจุบันกาล)
โครงสร้างประโยค : ประธาน + กริยาช่องที่ 1
ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ บุรุษที่ 3 (He, She, It และชื่อคน) + กริยาช่องที่ 1 เติม s หรือ es เช่น
I go…
You go…
He goes…
They go…
She sings a song.
He plays football.
She is not here. หรือ She isn’t here.
We are not drivers. หรือ We aren’t drivers.
ประโยคปฏิเสธและคำถามเราจะใช้ Verb to do มาช่วย เช่น
You do not like apple. หรือ You don’t like apple.
She does not eat meat. หรือ She doesn’t eat meat.
Do you like it?
Does he like it?
หลักการเติม ‘s’ ที่คำกริยา
1. เติม s หลังคำกริยานั้นๆ เช่น
He eats. She sings. A tiger runs.
2. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, o, z, ss ให้เติม es เช่น
He teaches English.
She goes away.
She brushes her teeth.
3. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
He tries to study.
She studies English.
หมายเหตุ ถ้าหน้า y เป็นสระ ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น i ให้เติม s ได้เลย เช่น
play – plays = เล่น
pay – pays = จ่าย
destroy – destroys = ทำลาย
หลักการใช้ Present Simple Tense พอสรุปได้ดังนี้
1. แสดงลักษณะความจริงอยู่เสมอ ไม่ว่า เหตุการณ์จะผ่านไปเท่าใดก็ตาม เช่น
The earth moves around the sun.
โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
The sun rises in the east and sets in the west.
ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
The earth is round.
โลกกลม
Water freezes at 0 C.
น้ำมีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส
2. การกระทำที่เกิดขึ้นเสมอๆ, เกิดขึ้นจนเป็นนิสัย หรือ ประเพณีนิยม มักจะมี adverb of frequency ประกอบในประโยค เช่น
every day, usually, sometimes, frequently, always, naturally, generally, rarely, seldom, never etc.
เช่น
She gets up at six o’clock.
หล่อนตื่นนอน 6 โมงเช้า (ตื่นเวลานี้จนเป็นนิสัย)
He runs every morning.
เขาวิ่งทุกๆเช้า
John often drinks beer.
จอห์นมักจะดื่มเบียร์
She never sits in front of the church.
หล่อนไม่เคยนั่งข้างหน้าของโบสถ์เลย
3. แสดงเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น
I go to Chiangmai in the afternoon.
ฉันจะไปเชียงใหม่ในตอนบ่าย
He starts to study in five minutes.
เขาจะเริ่มเรียนภายใน 5 นาที
The concert begins at 1.30 pm.
คอนเสิร์ตเริ่มเวลา 13.30 นาฬิกา
4. ใช้กับสุภาษิต คำพังเพย เช่น
New brooms sweep clean.
ไม้กวาดใหม่ย่อมกวาดสะอาดกว่า
Money makes friend.
เงินทองอาจทำให้ท่านมีเพื่อนฝูงมาก
Health is wealth.
ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
สรุป Present Simple ใช้เมื่อเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งที่ทำเป็นประจำ หรือ สิ่งที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นปกติ หรือเป็นความจริง ตัวอย่างเช่น
Somchai usually plays tennis on Sunday.
Sue reads the newspaper every day.
Earth revolves around the sun.
ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมพักเบรกปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
ต่อตนเอง  ได้แก่  มีความรู้ความเข้าใจในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษมากขึ้น
ต่อหน่วยงาน ได้แก่  ถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในหน่วยงานมีความเข้าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ฝึกการ Present แบบ Professional

ชื่อผู้แบ่งปัน :  นางฉวีวรรณ  เรืองศรี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน :  ส่วนตรวจสอบและกำกับการคลัง 1 สำนักงานคลังเขต 7


คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
ชื่อคุณลิขิต :  นางสายพิณ สุวรรณวรวิกิจ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน :  ส่วนตรวจสอบและกำกับการคลัง 2 สำนักงานคลังเขต 7


ชื่อกิจกรรมพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ  :  ฝึกการ Present แบบ Professional
วัตถุประสงค์ของการพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
1)เพื่อสืบค้นความรู้ที่เป็นประโยชน์แล้วนำมาถ่ายทอดให้เรียนรู้ร่วมกัน
2)เพื่อแบ่งปันความรู้ เทคนิค การนำเสนองาน (Present) ภาษาอังกฤษ
3)เพื่อเตรียมความพร้อมให้เท่าทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง
ความรู้เกี่ยวกับ  :  การท่องเที่ยวในท้องถิ่น (Local Tours)
การท่องเที่ยวในท้องถิ่น (Local Tours)
ในบทนี้จะพูดถึงการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ ว่ามีสถานที่ใดน่าสนใจหรือขึ้นชื่อบ้าง รวมทั้งอาหารการกิน สถานบันเทิง และการเดินทางไปเยือน
Dialogue ๑
บทสนทนาระหว่าง Ms. Sodsai ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับสามีภรรยาคู่หนึ่งซึ่งเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเป็นครั้งแรก
Ms.Sodsai   :  Good morning. Can I help you?
สวัสดีค่ะ มีสิ่งใดให้ดิฉันช่วยไหมคะ?
Mr.Mcbelle  : Yes. We’re staying in Bangkok for a few days. Could you give us some advises about things to do here?
ครับ พวกเราจะพักอยู่ที่กรุงเทพฯ ประมาณ 2-3 วัน คุณจะกรุณาแนะนำสิ่งที่ควรทำขณะอยู่ที่นี่ได้ไหมครับ?
แนะนำสิ่งที่ควรทำขณะอยู่ที่นี่ได้ไหมครับ?
Ms.sodsai  :  With pleasure. Why not have a walk down Ratchadamnern Road. There is a great number of tourist site and historical buildings.
ด้วยความยินดีค่ะ ทำไมไม่ลองเดินไปตามถนนราชดำเนินดูล่ะค่ะ ที่นั่นมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย รวมทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยค่ะ
Mrs.Mcbelle  : Yes, they mentioned the Fajchadamnern Road at the hotel. What’s that big pagoda on the loft of the road?
ได้ค่ะ มีหลายคนที่โรงแรมพูดถึงถนนราชดำเนินเหมือนกัน แล้วเจดีย์ใหญ่ที่อยู่ฝั่งซ้ายของถนนคืออะไรคะ?
Ms sodsai  : That’s the Golden Mountain or Bhukaotong.
นั่นคือโกลเด้นเมาท์เท่น หรือเจดีย์ภูเขาทองค่ะ
Mrs.McBelle : What about other amenities?
แล้วมีสถานที่และกิจกรรมอื่น ๆ อีกไหมครับ?
Ms. Sodsai  :  Oh, there are very good museums, art galleries and so on.
Here’s the brochures of interesting attractions in Bangkok.
โอ มีพิพิธภัณฑ์ดี ๆ และอาร์ตแกลอรี่หลายแห่งค่ะ นี่เป็นโบรชัวร์บอกสิ่งที่น่าสนใจในกรุงเทพฯ ค่ะ
Mrs.McBelle : Thank you for your help.
ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือครับ
Ms. Sodsai  : My pleasure.  ด้วยความยินดีค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ Telling time in English

ชื่อผู้แบ่งปัน : นางกนกพร  มีสุข
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน :  สำนักงานคลังเขต 1












คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
ชื่อคุณลิขิต : นางณัฐฌา วณิชย์รุจี  
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
หน่วยงาน :  สำนักงานคลังเขต 1














ชื่อกิจกรรมพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ  : การบอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ Telling time in English

วัตถุประสงค์ของการพักเบรกปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
1) เพื่อเรียนรู้การบอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ
2) เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานคลังเขต 1 แลกเปลี่ยนความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษร่วมกัน
3) เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานคลังเขต 1 สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้

หัวข้อและเนื้อหารายละเอียดการพักเบรคปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
การถามเกี่ยวกับเวลา (Asking about time)



การถามเวลาเป็นภาษาอังกฤษ
What’s the time?  = ตอนนี้กี่โมง
What time is it?  = ตอนนี้กี่โมง
Could you tell me the time, please?  = ช่วยบอกเวลาตอนนี้ได้ไหม
Do you happen to have the time? = คุณรู้ไหมตอนนี้กี่โมงแล้ว
Do you know what time it is? = คุณรู้ไหมตอนนี้กี่โมงแล้ว

การบอกเวลา (Telling the time)
1. ถ้าจะบอกเวลาเต็มๆ ชั่วโมง ให้ใช้คำว่า “o’clock” ตามหลังเวลาที่จะบอกเสมอ เช่น
It’s six o’clock. มันเป็นเวลาหกโมงเช้า/เย็น
2. การบอกเวลาที่มีเศษนาทีในกรณีที่ไม่เกิน 30 นาที ให้ใช้ “past” นำหน้าชั่วโมงในขณะนั้น
รูปแบบ เศษนาที + past + ชั่วโมงขณะนั้น เช่น
9.25 = It’s twenty-five past nine.
8.19 = It’s nineteen past eight.
3. การบอกเวลาที่มีเศษนาทีในกรณีที่เกิน 30 นาที ให้ใช้ “to” นำหน้าเวลาที่จะถึง
รูปแบบ  60 - เศษนาทีที่ให้มา + to + ชั่วโมงที่จะถึง เช่น
10.40 = It’s twenty to eleven.
11.55 = It’s five to twelve.
4. การบอกเวลาที่เศษนาทีเท่ากับ 15 นาที
รูปแบบ a quarter past + ชั่วโมงในขณะนั้น เช่น
3.15 = It’s a quarter past three.
ถ้าเศษนาทีเท่ากับ 45 นาที
รูปแบบ a quarter to + ชั่วโมงที่จะถึง เช่น
5.45 = It’s a quarter to six.
5. การบอกเวลาที่เศษนาทีเท่ากับ 30 นาทีให้ใช้ “half past”
รูปแบบ half past + ชั่วโมงในขณะนั้น เช่น
7.30 = It’s half past seven.
6. การบอกเวลาตามตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกา เช่น
2.15 = It’s two fifteen.
3.25 = It’s three twenty-five. 

หมายเหตุ เราอาจใช้ a.m.และ p.m.ในการบอกเวลาโดยมีกฎเกณฑ์ ดังนี้
a.m. = ante meridium ใช้ในการบอกเวลาตั้งแต่ เที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน
p.m. = past meridium ใช้ในการบอกเวลาตั้งแต่ เที่ยงวันถึงเที่ยงคืน
ตัวอย่างเช่น
9.00 a.m. = 9 โมงเช้า
9.00 p.m. = 3 ทุ่ม
6.20 a.m. = 6 โมง 20 นาที ในตอนเช้า
6.20 p.m. = 6 โมง 20 นาที ในตอนเย็น
7.30 a.m. = 7 โมง 30 นาที ในตอนเช้า
7.30 p.m. = 1 ทุ่มครึ่ง

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเวลา
1. the face of the clock หรือ the dial หรือ the clock’s face = หน้าปัดนาฬิกา
2. the short hand หรือ the hour – hand (H.H) = เข็มสั้น
3. the long hand หรือ the minute – hand (M.H.) = เข็มยาว
4. the second – hand (S.H.) =เข็มวินาที
5. clock (c.n.) = an instrument in a room, an office or the outside of a building that shows what time of day is it. (นาฬิกา)
6. alarm clock (C.N.) = a clock that you can set to make a moise so that it wakes you up at aparticerlar time. (นาฬิกาปลุก)
7. watch = a small clock that you wear on your wrist or carry in your pocket. (นาฬิกาข้อมือ)
ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมพักเบรกปันความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
 ต่อตนเอง ได้แก่ มีทักษะด้านภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้
 ต่อหน่วยงาน  ได้แก่ บุคลากรของสำนักงานคลังเขตมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน และโต้ตอบในเบื้องต้นกับชาวต่างชาติได้

โรคเบาหวาน

ชื่อผู้แบ่งปัน : น.ส.นัจนันท์ ธนลาภไพรินทร์ 
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : เจ้าพนักงานการคลังชำนาญงาน
หน่วยงาน : กลุ่มงานแผนงานและงบประมาณ กองแผนงาน





คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง) : คุณขนิษฐา  ศักดิ์สุวรรณ 
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลัง
หน่วยงาน : กลุ่มงานแผนงานและงบประมาณ กองแผนงาน


ชื่อกิจกรรมพักเบรกปันความรู้ : โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM, Diabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น


จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation, IDF) พบผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกราว 415 ล้านคนในปี 2558 และคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 642 ล้านคนในปี 2583 สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยพบว่า คนไทยช่วงอายุ 20-79 ปี เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7.1 หรือหมายความว่า ในจำนวนคน 100 คน จะพบคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 7 คน และจำนวนมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน สถิติการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงภัยร้ายของโรค เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทางสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้
ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มมีน้ำตาลอยู่กระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2  (เบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น
อาการของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย  มีอาการชา โดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์
สาเหตุของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน และเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่น
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย และที่สำคัญต้องอาศัยการตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก (microvascular complications) เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ (macrovascular complications) เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตรได้
การรักษาโรคเบาหวาน
การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1
สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
การป้องกันโรคเบาหวาน
สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานหากมีความเสี่ยง เพื่อสามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ในระหว่างการตั้งครรภ์
อาการของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานในระยะแรกส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการผิดปกติ ในบางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อเป็นมานานโดยไม่รู้ตัวและเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 มักมีอาการที่คล้ายกันมาก โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 มักมีอาการแบบเฉียบพลัน อาการจะมีความรุนแรงมากหากขาดอินซูลิน อาจทำให้เกิดการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 จะมีลักษณะอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่พบได้ในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุ
สัญญาณบ่งบอกของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 มักพบได้จากอาการเหล่านี้
ปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก - เมื่อฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนผลิตได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติ และไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับเข้าสู่เลือด จึงปล่อยออกมาพร้อมน้ำกลายเป็นปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก
กระหายน้ำ - เนื่องจากการสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อยครั้ง ร่างกายจึงจำเป็นต้องชดเชยน้ำที่เสียไป ทำให้มีความกระหายน้ำ อยากดื่มน้ำมากกว่าปกติ
หิวบ่อย - เมื่อฮอร์โมนอินซูลินในเลือดทำงานไม่ปกติหรือร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เซลล์ไม่ได้รับพลังงาน ร่างกายจึงพยายามหาแหล่งอาหารมากขึ้นด้วยการส่งสัญญาณออกมาด้วยอาการหิว
น้ำหนักลดลงผิดปกติ - เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือมีไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้ รวมทั้งยังไปสลายเอาโปรตีนและไขมันมาใช้แทน
เหนื่อยง่าย - เมื่อน้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ผู้ป่วยจึงเหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลีย
สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด - เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตาจนจอตาเกิดอาการผิดปกติ หรือมีระดับน้ำตาลสูงมาเป็นเวลานานจนเกิดความผิดปกติของจอตา ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีปัญหาสายตาระยะยาวถึงขั้นตาบอด
ในขณะที่อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์จะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู่ป่วยอาจรู้สึกกระหายน้ำมากและปัสสาวะบ่อย แต่อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์พบได้น้อย และการวินิจฉัยจากการสังเกตจากอาการอาจทำได้ยาก เพราะมีความคล้ายคลึงกับอาการของการตั้งครรภ์ปกติ
อาการของโรคเบาหวานเรื้อรังที่เป็นมานานอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หงุดหงิด บาดแผลหายช้าหรือหายยาก มีการติดเชื้อทางผิวหนัง เพราะน้ำตาลในเลือดที่มากเกินไป ทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมแผลเป็นไปได้ช้า มีอาการผิดปกติในช่องปาก เช่น เหงือกบวมแดง มีเลือดหรือหนองออก เหงือกร่น เหงือกมีอาการติดเชื้อหรือเป็นโรค เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดี มีอาการชา โดยเฉพาะมือและเท้า คล้ายเข็มทิ่ม เนื่องจากเส้นประสาทได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น
สาเหตุของโรคเบาหวาน
สำหรับสาเหตุของโรคเบาหวานนั้น โดยปกติ ระบบการเผาผลาญของร่างกายจะย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปให้อยู่ในรูปแบบของน้ำตาลกลูโคส และมีฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตได้จากตับอ่อนนำน้ำตาลกลูโคสเหล่านี้ไปเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในกระแสเลือดได้ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือเนื้อเยื่อเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไปได้ดังนี้
เบาหวานประเภทที่ 1 เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากเบตาเซลล์ (Beta cells) ของตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ผู้ป่วยประเภทนี้จึงจำเป็นต้องได้รับอินซูลินเข้าสู่ร่างกายด้วยการฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาในระยะยาว นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคเบาหวานชนิดนี้ยังเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โรคหรือการติดเชื้อที่เกิดกับตับอ่อน โรคเบาหวานประเภทนี้มักพบในผู้ที่มีอายุน้อยเป็นส่วนใหญ่ แต่มีความเป็นไปได้ในทุกช่วงอายุ ซึ่งอาการของโรคจะมีการพัฒนารวดเร็ว เกิดแบบเฉียบพลัน ทั้งนี้สาเหตุของการเกิดเบาหวานประเภทนี้ยังไม่แน่ชัด และพบได้ประมาณ 5%
เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะการดื้นอินซูลิน หรือความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินของตับอ่อนน้อยเกินไป โรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ถือว่าเป็นโรคเบาหวานที่สามารถพบได้มากที่สุดประมาณ 95% โดย มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากปัญหาน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนตั้งแต่เด็ก ขาดการออกกำลังกาย ประวัติการเป็นเบาหวานในครอบครัว และอายุที่มากขึ้น เบาหวานชนิดนี้มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก อาการของโรคจะมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลานาน
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะตั้งครรภ์เท่านั้น โดยผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติการเป็นโรคเบาหวานมากก่อน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จนเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าเกณฑ์ปกติ และมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
นอกจากนี้เบาหวานยังสามารถเกิดได้จากโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เบาหวานจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง เบาหวานจากโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ฮอร์โมนผิดปกติจากการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวานอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย ทั้งนี้การตรวจเลือดสามารถทำได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่อนี้
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานตามที่กล่าวมาอย่างชัดเจน และตรวจเลือดเวลาใดก็ได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หากมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ผู้ป่วยต้องงดรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ โดยมักตรวจในตอนเช้า หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมปริมาณได้ดีมากน้อยแค่ไหน เมื่อฮีโมโกลบินทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในเลือดจึงทำให้เกิดฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี ขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดมากก็จะพบฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี มากเช่นกัน ซึ่งค่าที่ได้หากพบตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน  
การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังการดื่มน้ำที่มีน้ำตาลกลูโคสละลายอยู่ 75 กรัม หากพบระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ทั้งนี้การวินิจฉัยที่กล่าวมานี้ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และ 2 เป็นหลัก เนื่องจากการตรวจโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีเกณฑ์และรายละเอียดในการวินิจฉัยที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังสามารถบ่งบอกว่าผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานหรือไม่ โดยดูจากปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ยังไม่สูงถึงเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะการเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก (Microvascular complications) และโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular complications) นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรระวังการเกิดบาดแผลหรือการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากบาดแผลของผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้า อาจก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานมีดังนี้
โรคแทรกซ้อนทางด้านตา เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจนเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตา ทำให้จอตาผิดปกติ โรคที่พบส่วนมากในผู้ป่วยเบาหวาน คือ เบาหวานขึ้นตา (Retinopathy) ต้อกระจก (Cataracts) ต้อหิน (Glaucoma) หรือปัญหาทางด้านสายตา ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการมองเห็นจนถึงขั้นตาบอดได้ โดยในช่วงแรกอาการจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปจนผู้ป่วยไม่ระวัง จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสายตาจากจักษุแพทย์เป็นประจำ
โรคทางระบบเส้นเลือดและหัวใจ เมื่อระดับน้ำตาลถูกสะสมในเลือดในปริมาณมาก ทำให้เกิดการหนาตัวของเส้นเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ เป็นผลให้เส้นเลือดแคบลงและอาจเกิดการอุดตัน นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสของเส้นเลือดแข็งได้เช่นกัน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก (Angina) หัวใจขาดเลือด (Heart Attack) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Artery Disease) เป็นต้น ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเส้นเลือดและหัวใจได้มากกว่าคนปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตและพิการได้สูงมากกว่าคนทั่วไปจากภาวะแทรกซ้อนนี้
โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเรื้อรังสามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาททั่วร่างกายขั้นปานกลางถึงรุนแรง เมื่อเกิดแผลขึ้นในบริเวณต่าง ๆ จึงรับความรู้สึกได้น้อยลง เนื่องจากปลายประสาทเกิดอักเสบ ทำให้เกิดอาการชา และประกอบกับการไหลเวียนของเส้นเลือดไม่ดี แผลจึงเกิดการลุกลามได้ง่าย และอาจต้องตัดอวัยวะบริเวณนั้นทิ้ง โดยโรคที่พบได้บ่อย คือ ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ที่ส่งผลต่อการรับความรู้สึกหรือความเจ็บปวดที่มือหรือเท้าบกพร่อง มีอาการชา รวมไปถึงระบบการย่อยอาหารที่ผิดปกติ ปัญหาด้านการขับถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น
โรคแทรกซ้อนทางไต เป็นโรคสำคัญอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในเลือดที่มีมากขึ้นกว่าคนปกติ ทำให้ไตทำงานผิดปกติ มีโปรตีนเล็ดลอดออกทางปัสสาวะ ซึ่งในระยะแรกจะไม่สามารถตรวจพบโรคแทรกซ้อนนี้ได้จากการตรวจเลือด แต่จะตรวจพบได้จากปริมาณโปรตีนที่มากขึ้นในปัสสาวะ หากไตอยู่ในภาวะการทำงานหนักเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดภาวะไตวายได้
โรคเกี่ยวกับช่องปากและฟัน เนื่องจากความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะส่งผลต่อการอักเสบเนื้อเยื่อรอบฟัน มีโอกาสมากที่จะเป็นโรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟัน
โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้นหรือทารกในครรภ์อาจจะเสียชีวิตได้ ทารกอาจมีน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดลำบาก และมีโอกาสเกิดอันตรายระหว่างการคลอดได้สูงขึ้น
โรคทางด้านผิวหนัง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา อาการคัน หรือปัญหาผิวอื่น ๆ
การรักษาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่เมื่อเกิดโรคขึ้นแล้วสามารถควบคุมอาการของโรคและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ในการรักษาโรคเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ โดยการควบคุมการรับประทานที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจทำให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาตามประเภทของโรคเบาหวานได้ดังนี้
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อการนำน้ำตาลเข้าสู่เส้นเลือด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ไปจนตลอดชีวิตการฉีดอินซูลิน ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ชนิดของฮอร์โมนอินซูลินที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานปัจจุบัน
ประเภทออกฤทธิ์เร็ว (Rapid Acting Insulin) เป็นยาออกฤทธิ์สั้น เริ่มออกฤทธิ์หลังการฉีด 15 นาที ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 1 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นาน 2-4 ชั่วโมง เช่น อินซูลิน กลูลิซีน (Insulin Glulisine) อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro) อินซูลิน แอสพาร์ (Insulin Aspart)
ประเภทออกฤทธิ์ในช่วงปกติ (Regular or Short-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์นานขึ้นภายใน 30 นาทีหลังการฉีด ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 2-3 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น 3-6 ชั่วโมง เช่น เรกูลาร์ อินซูลิน (Regular insulin)
ประเภทออกฤทธิ์นานขึ้นในระดับกลาง (Intermediate-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ได้ภายใน 2-4 นาทีหลังการฉีด ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุด 4-12 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นานถึง 12-18 ชั่วโมง เช่น เอ็นพีเอช อินซูลิน (NPH)
ประเภทออกฤทธิ์นาน (Long-acting Insulin) สามารถออกฤทธิ์ในการรักษานานมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ใช้ระยะเวลาการดูดซึมในร่างกายนานหลายชั่วโมง เช่น อินซูลิน ดีทีเมี่ยร์ (Insulin Detemir) หรืออินซูลิน กลาร์จีน (Insulin Glargine)
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะใช้ยาที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดโดยการเพิ่มการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินให้ดีขึ้น และเพิ่มการใช้น้ำตาลกลูโคสในร่างกายมากขึ้น เช่น ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) ไบกัวไนด์ (Biguanide), ยาในกลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ยาแอลฟา-กลูโคซิเดส อินฮิบิเตอร์ (Alpha-glucosidase Inhibitor) เป็นต้น นอกจากนี้ในบางรายอาจมีการฉีดอินซูลินในกรณีที่การรับประทานยาไม่ได้ผล
เบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยควรเข้ารับการฝากครรภ์และพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ พร้อมทั้งพยายามควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับแม่และทารกในครรภ์ โดยจำเป็นต้องมีการควบคุมอาหารที่รับประทานอย่างเข้มงวด เช่น ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลลง เพิ่มการรับประทานโปรตีน ผักและผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติหวานจัดหรือไขมันสูง เป็นต้น พร้อมทั้งมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนตั้งครรภ์ควบคู่กัน โดยการปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ หากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ผลดีด้วยการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดอินซูลินเพิ่มเติม
การรักษาด้วยสมุนไพร
นอกเหนือจากการรักษาโรคเบาหวานตามการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังมีการรักษาตามแพทย์แผนทางเลือกมาช่วยเสริมในหลายหลายวิธี เพื่อช่วยให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายในประเทศไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงพืชสมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและยังใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เช่น
ตำลึง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนจากต้น อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ วิตามินและแร่ธาตุสูง โดยมีสรรพคุณสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยในเรื่องการลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนที่นิยมนำมาใช้จะเป็นส่วนใบ ซึ่งใบแก่จะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าใบอ่อน ราก และผล อีกทั้งยังช่วยบำรุงสายตา ป้องกันตามัว เนื่องจากการขาดวิตามินเอ
มะระขี้นก ช่วยในการเจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ น้ำคั้นสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ และยังมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานเช่นเดียวกับผักตำลึง โดยมีการออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนอินซูลินที่ยับยั้งการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสที่มากขึ้นในตับ รวมทั้งยังช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบแปรรูปเป็นแคปซูลและผงแห้ง ชงเป็นชาดื่ม หรือคั้นเป็นน้ำ แต่ไม่ควรรับประทานผลสด เพราะอาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน  
มะแว้งต้น ผลสุกของมะแว้งต้นจะช่วยในเรื่องแก้ไอ ขับเสมหะ และมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดหรือแบบลวก แต่ควรระมัดระวังหากมีการรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 1 เดือน ซึ่งอาจมีผลเสียต่อระบบประสาทในร่างกาย
ฟ้าทะลายโจร สามารถใช้ได้หลายส่วน โดยส่วนรากจะช่วยในเรื่องการเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้ไข้ ส่วนลำต้นเป็นยาบำรุง แก้อาการท้องร่วง และส่วนใบเป็นส่วนที่นำมาใช้ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ กระเพาะ ลำไส้อักเสบ
อย่างไรก็ตาม การใช้พืชสมุนไพรยังเป็นทางเลือกเสริมในการช่วยบำบัดโรคเบาหวานให้ดีขึ้นในระยะแรก ๆ เท่านั้น แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาโรคเบาหวานได้เต็มรูปแบบ อีกทั้งยังควรคำนึงถึงผลข้างเคียงของการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการรับประทานสมุนไพรด้วยตนเองเพื่อความปลอดภัย
การป้องกันโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานในแต่ละชนิดสามารถป้องกันได้แตกต่างกัน ซึ่งโรคเบาหวานประเภทที่ 1 แทบไม่สามารถป้องกันการเกิดของโรคได้ เพราะสาเหตุการเกิดมาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คง และการออกกำลังสม่ำเสมอ การป้องกันโรคเบาหวาน สามารถทำได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
ระมัดระวังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อาหารไขมันสูง ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีความหวาน อาจดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล แทนน้ำผลไม้ รับประทานโยเกิร์ตแบบไม่เติมน้ำตาล ผลไม้สด หรือถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นของว่างระหว่างวัน เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อขาวที่ไม่ติดมัน อย่างปลา ไก่ หรืออาหารทะเล แทนเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป
ควรแบ่งมื้ออาหารหลักออกเป็นมื้อย่อย ๆ ในแต่ละวัน เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลิน
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และลดระดับน้ำตาลในเลือดลง นอกจากนี้ยังเพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด หัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้น
การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรมีการเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานในกรณีที่มีความเสี่ยง พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
สิ่งสำคัญในการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ  


ที่มา : https://www.pobpad.com/โรคเบาหวาน

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

18 วิธีเสริมทัศนคติและพลังในการทำงาน


ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
นางดาวเรือง  ต้องใจ >>>>>
ตำแหน่ง :  พนักงานพิมพ์ ส.3
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นางวรารัตน์  ต้อยแก้ว >>>>>
ตำแหน่ง: เจ้าหน้าที่ธุรการ


ความรู้ที่แบ่งปัน  :  18 วิธีเสริมทัศนคติและพลังในการทำงาน
1. หาแรงบันดาลใจระหว่างการเดินทาง
ส่วนใหญ่เราจะใช้เวลาในการเดินทางไม่ว่าจะมุดดินหรือลอยฟ้า
ไปจมปลักกับโซเชียลเน็ตเวิร์กเสียเป็นส่วนใหญ่ ลองเปลี่ยนมาฟัง
Podcast หรือ Audio Book หรือฟังเพลงที่ทำให้สร้างแรงบันดาลใจ
ดูไหมครับ แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำ podcast อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวไปสำหรับมนุษย์ไทยลองหยิบหนังสือมาอ่านระหว่างทางดีไหมครับ อาจจะเป็นหนังสืออ่านเล่น หรือแนวการสร้างแรงบันดาลใจก็ได้ครับ ซึ่งปกติเวลาผมไปทำงานผมจะพกหนังสือ 1-2 เล่มไว้ในกระเป๋าเพื่ออ่านเวลาเดินทางหรือต้องรอใครก็ตาม
2. ถึงที่ทำงานก่อนเวลาทำงาน การมาก่อนเวลาทำให้เราสามารถโฟกัสว่าจะมีสิ่งใดต้องทำบ้างในวันนี้ สามารถจัดความสำคัญของงานได้ แถมยังเงียบด้วยเพราะคนอื่นเขายังไม่มากัน

3. เช็คอีเมล หลายคนเลือกเชคเมลเป็นกิจกรรมแรกหลังจากเปิดคอมพิวเตอร์ หรือจ้องจะเชคเมลตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ ลองเปลี่ยนเวลาการเชคเมลดูไหมครับ กำหนดเวลาเป็นช่วงๆ (ไม่หลินฮุ่ย) เช่น จะเชคทุก 10 โมง และ 4 โมงเย็น เป็นต้น (วิธีนี้แนะนำเหมือนในหนังสือทำน้อยให้ได้มาก The Power of Less)

4. เวลาที่ใช้ไปในการทำงาน    ลองคิดดูว่าคุณทำงานบางอย่างโดยเสียเวลาไปแทบทั้งวันหรือเปล่า? แล้วงานที่ทำไปนั้นสำคัญขนาดไหน ลองหันมาโฟกัสงานที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกดูไหมครับ เมื่อเสร็จแล้วจึงค่อยดูอันถัดๆ ไป

5. วางแผนการทำงาน     ลองวางแผนว่าในวันนี้คุณจะทำอะไรบ้าง มี Objective อะไรบ้างที่ต้องทำ หรือจะวางเป็นรายสัปดาห์ก็ได้เช่นกันครับ เพื่อให้เห็นภาพรวมในการทำงานทั้งหมด
6. หาเวลาพักบ้าง   ลองกำหนดช่วงเวลาในการเบรค หยุดพักการทำงานของคุณเป็นช่วงเวลา เพราะคนเราคงไม่สามารถจดจ่อได้รวดเดียว 4 ชั่วโมง 8 ชั่วโมงแน่ๆ ครับ การพักทำให้เราอาจจะได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ หรือเป็นการทบทวนสิ่งที่เราทำอยู่ก็เป็นได้ครับ
7. การประชุม ให้ดำเนินการประชุมให้อยู่ในหัวข้อ และสนใจที่จะเข้าร่วมฟังหรือออกความเห็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เมื่อออกจากห้องประชุมแล้วเราจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่าเราต้องทำอะไรและมีเป้าหมายในการทำเป็นอย่างไร

8. ออกกำลังกาย หาเวลาในการออกกำลังกายบ้างนะครับ การออกกำลังนอกจากจะช่วยลดความเครียดแล้ว ยังสามารถจะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้ดีขึ้นจากสมองที่ปลอดโปร่ง
9. ความรอบคอบ ความเร็วในการทำงานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่เมื่อเร็วแล้วก็ต้องแลกกับอัตราความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาด ลองลดความเร็วแล้วตรวจทานให้ดี เพื่อที่จะไม่ต้องกลับมาทำใหม่อีกรอบครับ
10. การสนับสนุน  ลองดูว่าสิ่งที่คุณทำไปสำเร็จมีอะไรบ้างแล้วแชร์ให้คนอื่นได้รับรู้บ้างเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอืนๆ รวมทั้งสนับสนุนงานของเพื่อนร่วมงานของคนอื่นๆ ด้วย
11. การร่วมกันทำงาน  อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ลองให้คนอื่นๆ หรือถามไอเดียจากคนอื่นๆ ดูหากเราไม่สามารถคิดงานหรือทำงานต่อไปได้ (แต่ก็อย่าขอกันบ่อยจนพร่ำเพรือ)
12. เข้าใจและยอมรับ  ฟังดูปลงๆ หน่อยนะครับ แต่หากเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คงต้องทำกันต่อไปให้ดีที่สุด (และอย่าลืมหาโอกาสที่ดีกว่าให้ตัวเองด้วย)
13. วันหยุด สุดๆ ไปเลย! วันหยุดหลายๆ คนเลือกจะไปเดินห้างบ้าง อ่านหนังสือบ้าง ลองหาอะไรทำใหม่ๆ ดูไหมครับแบบไม่ซ้ำกัน เช่น ลองออกไปต่างจังหวัด, ไปปีนเขา, ออกกำลังกายที่ไม่ใช่ในฟิตเนส (อุดอู้อยู่ในร่มทำไม ออกไปกลางแจ้งดีกว่า), เปลี่ยนที่อ่านหนังสือพร้อมจิบกาแฟชิลๆ

14. คิดบวก อาจฟังดูโลกสวยไปสักนิด แต่การมีอารมณ์คิดบวกนั้น จะมีผลกับงานที่คุณทำ รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่จะได้ประจุบวกจากการทำงานที่มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวกไปด้วย
15. เห็นอกเห็นใจ แม้เราจะพยายามคิดบวกแล้ว แต่ก็ต้องมีเพื่อนร่วมงานบางคนที่ยังคงติดอยู่กับความคิดไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวในแง่ลบอยู่ ครั้นเราจะเพิกเฉยไปเลยก็เหมือนเป็นการปล่อยลอยแพ ดังนั้นสิ่งที่เราน่าจะพอทำได้ก็คือลองยื่นมือให้ความช่วยเหลือด้วยการช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองให้เป็นด้านบวก ลองชี้แจงด้วยเหตุและผล ซึ่งถ้าเขาเปิดใจรับฟังน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากครับ (ในบทความที่ดึงมาบอกว่า หากเขาได้อ่านบทความนี้ด้วยจะดีมาก)
16. การเมืองในที่ทำงาน มันเป็นเรื่องเหนือการควบคุมของเรา ซึ่งการมีเรื่องนี้แน่นอนว่าจะทำให้งานและธุรกิจไม่มีความก้าวหน้าถ้ามัวจมปลักกับเรื่องนี้ สำหรับในส่วนของงานของเราแล้ว เราหันมาโฟกัสกับสิ่งที่ทำเพื่อให้งานก้าวหน้าและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ดีกว่าจะไปหมกมุ่นเรื่องนั้นครับ

17. การติชม คนเราย่อมชอบการชม มากกว่าคำตำหนิติเตียนใช่ไหมครับ บางครั้งเราก็ต้อง(พยายาม)เข้าใจในคำเตือนนั้นแม้มันจะไม่น่าฟังก็ตาม ดังนั้นเราก็ควรพิจารณาเลือกฟังคำติเตียนที่สามารถจะเอาไปใช้ในการปรับปรุงงานของเราให้ดีขึ้นได้ นอกนั้นก็คงต้องปล่อยวางนะครับ
18. การปรับตัว ไม่มีสิ่งไหนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจ, การงานก็เช่นกัน เราคงไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะปรับตัวให้กับสภาพและสภาวะการณ์ในปัจจุบันให้ได้ หากว่าคุณอยู่ในระดับบริหาร ลองใช้ประสบการณ์บอกเล่าว่าเราควรต้องทำอย่างไรมากกว่าจะเป็นตัวตั้งตัวตี รอต่อต้านเพียงอย่างเดียว

การใช้บริการ GFMIS Package สำหรับลูกค้าหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบ KTB Corporate Online


ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
คุณ  เนตรยา  วุฒิพันธ์
ตำแหน่ง  นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)               
คุณ   อุไร  อำนวยตระกูล
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน  สำนักงานคลังเขต ๙


ความรู้เกี่ยวกับ  :  การใช้บริการ  GFMIS Package สำหรับลูกค้าหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบ KTB Corporate Online

การใช้บริการ  GFMIS Package
สำหรับลูกค้าหน่วยงานภาครัฐ ผ่านระบบ  KTB Corporate Online
KTB Corporate Online คือ KTB Internet Banking  สำหรับหน่วยงาน
GFMIS ( Government Fiscal Management Information) เป็นระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนำส่งเงินจากคลังไปยังกรมบัญชีกลาง/คลังจังหวัด ซึ่งการนำส่งแต่ละครั้งจะสามารถระบุประเภทเงินที่นำส่ง ได้แก่ รายได้แผ่นดิน ,เงินฝากคลัง,เบิกเกินส่งคืน ส่งแทนเช็คขัดข้อง และ Interface รายได้แล้วตรวจสอบเงื่อนไขการนำส่ง พร้อมตรวจสอบเลขที่ใบนำฝากศูนย์ต้นทุนที่ถูกต้อง



สิ่งที่ได้รับหลังเปิดบริการ  GFMIS on KTB Corporate Online
1.Company ID ธนาคารจะแจ้งกลับไปกรมบัญชีกลาง เพื่อแจ้งหน่วยงาน
2.User Password ของ  ADMIN1 และ  ADMIN 2 ส่งผ่านทาง  e-mail
3.คู่มือการใช้บริการ GFMIS  on KTB Corporate Online
4.โปรแกรม KTB Universal Data Entry
โปรแกรมและอุปกรณ์
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ Internet
2.ระบบปฏิบัติการขั้นต่ำ  Window XP SP3  หรือ OS X 10.9
3.เบราว์เซอร์
-Internet Explorer  เวอร์ชั้น 8 ขึ้นไป
-Google Chrome   เวอร์ชั้น 30 ขึ้นไป
-Mozilla Firefox     เวอร์ชั้น 27 ขึ้นไป
-Safari  เวอร์ชั้น 8 ขึ้นไป
4.โปรแกรม  KTB Universal Data Entry
โครงสร้างผู้ใช้งานระบบ  KTB Corporate Online
Company  Admin   ผู้ดูแลระบบ
-ADMIN 1
-ADMIN 2
Company  User    ผู้ใช้งาน
-MAKER
-AUTHORIZER
โครงสร้างผู้ใช้งานระบบ  KTB Corporate Online
ADMIN 1  ใช้สร้าง user เพิ่ม ,เพิ่มลดสิทธิการใช้งาน
ADMIN 2  อนุมัติสร้าง user เพิ่ม ,เพิ่มลดสิทธิการใช้งาน, Unlock และ Reset Password
MAKER เรียกดูข้อมูลบัญชี ,ทำรายการ GFMIS และทำรายการโอนเงิน
AUTHORIZER  เรียกดูข้อมูลบัญชี ,อนุมัติทำรายการ GFMIS และทำรายการโอนเงิน
ข้อควรทราบเกี่ยวกับ  Password
1.Password ต้องมีตัวอักษรภาอังกฤษพิมพ์เล็กผสมกับตัวเลขรวมกันแล้ว  8 – 20 หลัก
2.Password ไม่หมดอายุ บังคับเปลี่ยนตอนตอนเข้าสู่ระบบครั้งแรก
3.จำ Password ไม่ได้
ADMIN 1, ADMIN 2 ต้องติดต่อสาขาเจ้าของบัญชี เพื่อกรอกแบบฟอร์ม Reset  Password
MAKER , AUTHORIZER ติดต่อ ADMIN 2 เพื่อขอ Reset
4.พิมพ์  Password ผิด 3 ครั้ง User จะไม่สามารถใช้งานได้ (User is Lock)
ADMIN 1, ADMIN 2 ต้องติดต่อสาขาเจ้าของบัญชี เพื่อกรอกแบบฟอร์ม Reset  Password
MAKER , AUTHORIZER ติดต่อ ADMIN 2 เพื่อปลด Lock
ทุกครั้งที่ออกจากระบบให้กดปุ่ม Logout
หากกดปิดหน้าจอเลย User จะค้างในระบบ 15 นาที ไม่สามารถใช้งานได้ต้องรอ 15 นาที ค่อยlogin ใหม่
การกำหนดสิทธิเพื่อใช้งาน KTB Corporate Online
1.สร้าง  User และกำหนดสิทธิเพื่อใช้งาน GFMIS ( Maker Authorizer)
2.กำหนดเงื่อนไขวงเงินการอนุมัติ  LOA (Line of Authorization) บริการ GFMIS
โดยหน่วยงาน (ADMIN 1 และ ADMIN 2) ทำรายการผ่าน KTB Corporate Online
Reference  คือ  หมายเลขอ้างอิงการทำรายการ ADMIN 1 เป็นผู้กำหนดเพื่อใช้แจ้ง    ADMIN 2 เช่น 04065901 (วันเดือนปี+ครั้งที่ทำ) หรือกำหนดเป้นอย่างอื่นก็ได้แต่ต้องไม่ซ้ำกับ Reference เดิมที่เคยใช้
User ID  คือ รหัสผู้ใช้งาน  maker 1, auth 1,chalee
User Name คือ ชื่อ นามสกุล ของผู้ใช้งาน
Citizen ID คือ หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
Position  คือ ตำแหน่งของผู้ใช้งาน
Department คือ หน่วยงานของผู้ใช้งาน
Authorize Class คือ กลุ่มของผู้อนุมัติ หากมีกลุ่มเดียวให้ระบุเป็น A เท่านั้น
Role คือ บทบาทของผู้ใช้งาน เลือกได้ 2 บทบาท
Company  Maker = Maker ผู้ทำรายการ
Company Authorizer = Authorizer ผู้อนุมัติรายการ
Phone คือ หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานที่ทำงานของผู้ใช้งาน
Mobile คือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งาน
Fax  คือ หมายเลขโทรสารพื้นฐานที่ทำงานของผู้ใช้งาน
  e –mail  คือ   email ของผู้ใช้งาน
Notification Received ให้ระบุเป็น Yes เท่านั้น

การถนอมสายตา


ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
นางสาวศิริรัตน์  แซ่วี >>>>>
ตำแหน่ง : นิติกร
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นายตามฤกษ์  เพชรมณี
ตำแหน่ง : นิติกร

ความรู้เกี่ยวกับ : การถนอมสายตา
*** ดวงตา เป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสง การมองในบริเวณที่แสงมีความเข้มมากกับบริเวณที่มีความเข้มแสงน้อย  อาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา หรือทำให้สายตาของเราเสียได้
เรตินา เป็นส่วนของตาที่เสียหายได้ เมื่อได้รับแสงที่มีความสว่างเกินความสามารถของการรับรู้ของมัน เมื่อเราดูวัตถุหรือสิ่งต่างๆ ที่วางอยู่กลางแดดหรือบนหาดทรายขาว เราจะรู้สึกตาพร่าหรือบางครั้งก็รู้สึกตามัว นั่นเป็นเพราะว่า เรตินาของตา ถูกกระตุ้นจนเกินไปทำให้การตอบสนองช้า ถ้าเราจ้องดูวัตถุที่มีความสว่างมากต่อไป การตอบสนองก็จะยิ่งช้าลง ในกรณีที่ดูวัตถุ   ที่มีความสว่างสูงมาก เรตินาจะถูกทำลายจนใช้การไม่ได้ตลอดไปซึ่งหมายความว่า ตาคนๆ นั้นก็จะบอดนั่นเองค่ะ

สำหรับคนที่ทำงาน OFFICE พูดได้เลยว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงที่สามารถทำร้ายสายตาของคุณได้ตลอดเวลาเพราะไม่ว่าจะทำงานอะไร ก็จะต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ด้วยเสมอ ทั้งการทำงาน การเรียน การพักผ่อน เช่น เล่นเกม ดูภาพยนตร์ และยิ่งในสมัยนี้มีอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ทเข้ามาอีก ทำให้สายตาของเราต้องเพ่งหน้าจออยู่แทบจะตลอดเวลา นานวันเข้า  ก็เริ่มที่จะเกิดปัญหาทางด้านสายตา เช่น อาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า สายตาสั้น หรือผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการปวดหัว ปวดหลัง เมื่อยคอ จากสถิติพบว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ประสบกับปัญหาเหล่านี้มากทีเดียว

ถ้าหากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่านั้น หรือไม่ก็เริ่มมีอาการอย่างที่บอกบ้างแล้ว ก็ควรที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพราะในเมื่อการจะให้ใช้เวลากับคอมพิวเตอร์น้อยลงคงเป็นเรื่องยาก ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้คือ การชะลอการทำร้ายสายตาให้ช้าลง ทำให้สายตาเรารู้สึกสบายมากขึ้นเวลาจ้องหน้าจอ และที่สำคัญวิธีทั้งหมดนี้ง่ายต่อการปฏิบัติตามค่ะ ก่อนที่จะสายเกินแก้



เรามาดูแลดวงตาของเราด้วยวิธีง่ายๆ กันเถอะค่ะ
1. กะพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้งเกิดจากการที่เรากะพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงาน    หน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะลดลงจาก 20-22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6-8 ครั้งต่อนาที จึงควรที่จะกะพริบตา   ให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2. จัดวางตำแหน่งคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50-70 ซม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาประมาณ 4-9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
3. แก้ปัญหาเรื่อง “ขนาด” ความละเอียดของหน้าจอ หรือ screen resolution เป็นสิ่งที่ทำให้หน้าจอ        มีขนาดแตกต่าง ยิ่งความละเอียดมากขึ้นเท่าไหร่ ขนาดของภาพก็จะเล็กลง ดังนั้นจึงควรปรับค่าความละเอียดให้พอดีกับขนาด   ของหน้าจอ ไม่ควรเล็กหรือใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้ขนาดของภาพและตัวหนังสือผิดเพี้ยนไปจากความจริง เวลาพิมพ์งาน    ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสม   จะสังเกตได้จากการที่เรายังสามารถอ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาได้ดีกว่าจอคอมพิวเตอร์แบบเก่า (CRT)
4. ปรับความสว่างของห้อง จัดให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ และควรปิดไฟบางดวงที่รบกวนการทำงานเพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้า          จากหน้าต่างควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีพื้นผิวสะท้อน      เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้านที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า
5. เลือกใช้แว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีแว่นตาที่ผลิตมาเพื่อกรองแสงจากหน้าจอโดยเฉพาะ เลนส์แว่นเคลือบด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันรังสีจากหน้าจอได้ดี และสามารถนำมาตัดเป็นแว่นสายตาสำหรับคนสายตาสั้น-ยาว ดังนั้น หากต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมเป็นเวลานาน ควรเลือกใช้แว่นประเภทนี้ และใช้เลนส์สีเขียวอ่อนที่จะช่วยให้รู้สึกสบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ
6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมงควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้างโดยละสายตาจากหน้าจอ แล้วมองออกไปในระยะไกล สัก 10 - 20 วินาที แล้วกลับมามองในระยะใกล้ ทำสลับกันไปหลายๆ ครั้ง จะช่วยให้คลายสายตาจากความเมื่อยล้าได้ดี เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
หรือลองใช้วิธีบริหารกล้ามเนื้อตาแบบง่ายๆ ดูค่ะ
1. กลอกตาขึ้น-ลงช้าๆ 6 ครั้ง โดยเหลือบตาขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด ในระหว่างการบริหารอย่าเกร็งลูกตา
2. กลอกตาไปข้างขวาและซ้ายสลับกัน โดยกลอกตาไปให้ขวาสุด และซ้ายสุด ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
3. ชูนิ้วขึ้นมาให้อยู่ในระดับสายตา ห่างจากสายตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจ้องมองไปที่ระยะไกลๆ ประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตา มองระยะใกล้ที่นิ้วมือใช้เวลามองแต่ละที่ประมาณ 2-3 วินาที ทำสลับไปมาเช่นนี้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที        ทำประมาณ 2-3 รอบ
4. กลอกตาเป็นวงกลมช้าๆ โดยเริ่มกลอกตาตามเข็มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2-3 รอบ

7. ออกไปข้างนอกบ้าง การอุดอู้อยู่ที่เดิมเป็นเวลานานๆ ทำให้สายตาเราชินกับระดับแสงเดิมๆ และรู้สึก    ตึงเครียดอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นเราควรละจากหน้าคอมสักพัก แล้วลุกออกไปเดินข้างนอก กลางแจ้งได้ยิ่งดี เพราะจะทำให้สายตา    ได้สัมผัสกับระดับแสงที่แตกต่างจากในห้อง ทำให้สมองและสายตาได้ผ่อนคลายความเมื่อยตึง โดยอาจออกไปดื่มน้ำ หาขนมทานสัก 15 นาที แล้วกลับมาผจญภัยกับงานต่อ จะทำให้รู้สึกมีพลังขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
และสุดท้าย เราควรตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง เพื่อวัดความดันตา ตรวจเช็กจอประสาทตาและความผิดปกติของสายตาเป็นประจำ เพราะโรคตาบางอย่างจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงขั้นรุนแรงแล้ว หากตรวจพบโรคตาตั้งแต่เนิ่นๆ        จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียสายตา จะได้รักษาดวงตาคู่นี้ให้อยู่กับเรานานเท่านาน
ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, คมชัดลึกออนไลน์
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76020
http://kruphysics-satri5.blogspot.com/p/blog-page_760.html
http://atcloud.com/groups/255/show_story?story_id=42206

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

น้ำผักผลไม้ปั่นเพื่อสุขภาพ

หน่วยงาน   :  ส่วนบริหารการจ่ายเงิน  4  กองบริหารการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ
ผู้แบ่งปัน  (บอกเล่าและปฏิบัติ)
นางสุภา  ศรีเรืองศักดิ์
ตำแหน่ง :  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
น.ส.วันทนา  วิจิตรวัชรเวช
ตำแหน่ง  :   เจ้าพนักงานการคลังชำนาญงาน                                





ความรู้เกี่ยวกับ  :  น้ำผักผลไม้ปั่นเพื่อสุขภาพ
ประโยชน์ของน้ำผักผลไม้
1.น้ำผักผลไม้เป็นน้ำดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด การดื่มน้ำผักผลไม้     เป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงมีอายุยืนยาว เพราะช่วยบำรุงสุขภาพ              และช่วยป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
2.ผักผลไม้แต่ละชนิดล้วนมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวช่วยป้องกันและลดความเสี่ยง    ของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งรวมไปถึงโรคมะเร็งต่าง ๆ ด้วย
3.ช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของอวัยภายในร่างกายต่าง ๆ
4.การดื่มน้ำผักผลไม้สามารถช่วยพัฒนาสมอง เสริมสร้างความจำ และเป็นอาหารของสมองได้เป็นอย่างดี
5.ช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ เพราะผักผลไม้บางชนิดจะมีวิตามินเอสูง เช่น แครอท ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก เป็นต้น
6.ผักผลไม้บางชนิดยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยบำบัดและรักษาโรคบางชนิดได้    เป็นอย่างดี
7.การดื่มน้ำผักผลไม้เป็นประจำจะช่วยทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใสได้ เพราะผักผลไม้หลายชนิดจะอุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งเป็นอาหารผิวที่มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวดูมีสุขภาพดีและเรียบเนียน



คำแนะนำในการดื่มน้ำผักผลไม้
•น้ำผักผลไม้เป็นเพียงอาหารเสริมสำหรับผักผลไม้สดมากกว่าที่จะเป็นอาหารหลักแทนที่
•ผักผลไม้สดทั้งหมด
•เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริโภค ควรดื่มน้ำผลไม้ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน (ประมาณ 4-8 ออนซ์) และให้คั้นดื่มโดยไม่ต้องเพิ่มความหวานใด ๆ อีก เนื่องจากในผลไม้จะมีน้ำตาลธรรมชาติอยู่แล้ว อีกทั้งยังให้แคลอรี่เพียง 60-80 แคลอรี่เท่านั้น
•น้ำผลไม้คั้นสดควรเป็นสิ่งแรกที่เข้าสู่ร่างกายในตอนเช้า เพราะน้ำผลไม้จะช่วยทำความสะอาดระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงการอุ่นเครื่อง ทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉงมากยิ่งขึ้น เพราะร่างกายสามารถดูดซึมคุณค่าจากผลไม้สดได้ง่าย ดังนั้นควรดื่มก่อน
•กินมื้อเช้าประมาณ 10 นาที หรือหากดื่มหลังมื้ออาหารในแต่ละวัน โดยค่อย ๆ จิบน้ำผลไม้และกลั้วไป
รอบ ๆ ปาก เพื่อเพิ่มเอนไซม์ในอาหารช่วยทำให้กระเพาะอาหารย่อยได้ดีขึ้น
•การดื่มน้ำผลไม้คั้นสดเป็นประจำจะช่วยถนอมสุขภาพสมองให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์
•ควรเลือกรับประทานน้ำผักผลไม้อย่างหลากหลาย หรือรับประทานให้ครบทั้ง 5 สี เนื่องจากผักผลไม้แต่ละสีแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป
•ก่อนนำผักหรือผลไม้มาคั้นเป็นน้ำ ควรนำมาล้างให้สะอาดเสียก่อน โดยส้ม ฝรั่ง แครอท องุ่น ผักคะน้า มีสารเคมีสูงอยู่ในระดับต้น ๆ (ส่วนน้ำผลไม้อย่างส้มที่ผลิตในโรงงาน กระบวนการผลิตจะไม่มีการปอกเปลือก แต่จะคั้นกันทั้งเปลือก ทำให้สารเคมีเหล่านี้อาจตกค้างในน้ำผลไม้ที่เราดื่มได้ ส่วนน้ำส้มคั้นที่ขายสด ๆ กันตามท้องตลาดก็ควรจะระวังด้วย เพราะนอกจากจะมีสารเคมีพวกยาฆ่าแมลงตกค้างที่เปลือกส้มแล้ว ตัวเครื่องที่ใช้คั้นเองก็เป็นตัวสะสมแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี เพราะเมืองไทยมีอากาศร้อน ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้เร็ว)
•ในการปั่นน้ำผักรับประทานเองในครัวเรือน มีคำแนะนำว่า ควรเลือกปั่นผักโดยใช้เครื่องปั่นในระดับความเร็วที่ไม่มากจนเกินไป เพราะการปั่นผักด้วยความเร็วสูง ๆ จะทำให้เกิดการสูญสลายของแร่ธาตุและสารอาหารบางอย่างได้
•ผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารหรือแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดโทษกับผู้ป่วยเรื้อรังบางโรคได้ เช่น ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้ที่มีกรดออกซาลิกสูง (Oxalic acid) เช่น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำใบชะพลู และน้ำแครอท เป็นต้น
•น้ำผักผลไม้ที่ได้รับความนิยมสูงโดยมากจะมีส่วนผสมของมะเขือเทศและโซเดียมในปริมาณมาก ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการเลือกบริโภค อีกทั้งผักผลไม้บางชนิดจะมีน้ำตาลสูง จึงควรไตร่ตรองอย่างระมัดระวังก่อนจะบริโภค
สูตรเด็ด น้ำผัก ผลไม้ ที่เหล่าคนดังดื่มเป็นประจำ มีข้อดีคือช่วยดีท็อกซ์ และลดหน้าท้องที่เกิดจากอาการท้องผูกได้ดีสุดๆ ไม่ลองไม่ได้แล้ววว
สูตรเด็ด น้ำผักผลไม้ ของดาราหุ่นดี ดื่มแล้วไม่มีหน้าท้อง   อยากผิวใสมีออร่าต้องทำน้ำผักผลไม้แยกกากดื่มเป็นประจำ ทั้งมีวิตามินแร่ธาตุมากมาย และยังมีเอนไซม์ที่ช่วยฟื้นบำรุงเซลล์ในร่างกายอีกด้วยค่ะ



สูตรผิวใส 
สูตรนี้มีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ที่ดีต่อผิวมาก แถมยังเสริมกระชายที่ช่วยในการปรับฮอร์โมนอีกด้วย
แครอท 2-3 หัว มะเขือเทศ 1 ลูก เสาวรส พอประมาณ กระชาย พอประมาณ
สูตร Power
ช่วยให้มีแรงออกกำลังกายมากขึ้น และช่วยดีท็อกซ์ไปในตัว แครอท 1 หัว แอปเปิ้ล 1 ผล
บีทรูท 1 ถ้วยตวง
สูตรผิวสวย หุ่นดี
ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและผิวพรรณ บีทรูท 1 ถ้วยตวง แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล กระชาย พอประมาณ
เสาวรส พอประมาณ  นอกจากนี้สูตรพิเศษก็คือ "แกนสับปะรด" ที่หลายคนมักทิ้ง แต่เราจะนำมาทำน้ำผลไม้ดื่มเสมอเพราะมันมีประโยชน์ไม่แพ้ส่วนเนื้อสับปะรดเลยค่ะ แถมยังรสชาติดีอีกด้วยนะ
สูตรสมูธตี้
มื้อเช้า อร่อยง่าย ประโยชน์เพียบ
ผักเคล ผักโขม เซเลอรี่ แอปเปิ้ลเขียว กีวี น้ำเลม่อน กล้วยครึ่งลูก แตงกวา น้ำเปล่า flax seeds, chia seeds
สูตร Banana Choco
กล้วยหอม 1/3 ลูก กับนมควินัว ผงโปรตีน ผงพีนัทบัทเทอร์ ผงโกโก้ flax seeds, chia seeds, โรยกราโนล่าช็อคโกแล็ต
สูตรนมอัลมอนด์
     นมอัลมอนด์ช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้กระชับสวย เพราะมีโปรตีนและวิตามินสูงค่ะ วิธีทำก็ไม่ยาก เพียงแช่เมล็ดอัลมอนด์ไว้ในน้ำหนึ่งคืนให้นิ่ม แล้วนำมาปั่นกับน้ำจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นใส่วานิลา หรือโรยผงซินนามอนลงไปก็อร่อยสดชื่น
สูตรน้ำผักแบบดารา ปู ไปรยา
ผักคะน้า ผักโขม เซเลอรี่ พาสลี่ย์ แอปเปิ้ลเขียว และเลมอน นำมาปั่นรวมกัน
สูตรสมูธตี้มื้อเช้า
คะน้า 2 กำ สับปะรด 1/3 ของซีกเท่าฝ่ามือ กล้วย 1 ลูก แตงกวา 1 ลูก น้ำเปล่า 1 ถ้วย (บางครั้งอาจเพิ่มผักโขม) ปั่นรวมกัน
เคล็ดลับ อีกอย่างหนึ่งคือ การดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวคั้นสดๆ 2 ลูกทุกเช้าหลังตื่นนอนค่ะ เพื่อเป็นการดีท็อกซ์ร่างกายให้ไม่มีของเสียคั่งค้าง หมดปัญหาพุงป่องเพราะท้องผูกไปได้เลย          และอีกเคล็ดลับก็คือการดื่มนมถั่วเหลืองเป็นประจำ ซึ่งมีสารที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงของเรา ทำให้ผิวนุ่มและเรียบเนียนค่ะ

แต่ละสูตรนี่เด็ดทั้งนั้นเลย เปิดดูตู้เย็นที่บ้านมีผัก ผลไม้ ที่แช่เย็น ลองนำมาทำกันดูนะคะ    หนุ่ม ๆ สาวๆ  เป็นอีกแนวของการรักษาสุขภาพที่ทำง่าย และช่วยให้หุ่นดีสุขภาพเยี่ยมได้ค่ะ

เทคนิคจัดการความเครียดเพื่อสุขภาพที่ดี

สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ

ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง) 
นางวรรณา  ยิ่งยงชัย  >>>>>
ตำแหน่ง :  นักบัญชีชำนาญการ

คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง) 
 นางสิริลักษณ์   ภรภัทรวชิรา>>>>>  
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

ความรู้เกี่ยวกับ : เทคนิคจัดการความเครียดเพื่อสุขภาพที่ดี
ความเครียดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของบุคคล ความเครียดจะส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเมตาบอลิกซินโดรม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ความเครียดยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคติดเชื้อ และมะเร็งอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่เราต้องมีความรู้ เกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ในการจัดการความเครียดเพื่อจะได้นำไปใช้ให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดียิ่งขึ้น
เนื่องจากในสภาวะที่บุคคลมีความเครียด ร่างกายจะเตรียมพร้อมต่อสู้โดยจะมีการตื่นตัวของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น เลือดไปเลี้ยงส่วนปลายน้อยลง แต่เมื่อเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย ร่างกายจะคืนสู่ภาวะปกติ ผลที่ได้รับ คือ สามารถลดความดันโลหิต เพิ่มการฟื้นฟูหัวใจ และลดอาการทางกาย ซึ่งเทคนิคการจัดการความเครียดที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทั้งผู้ที่มีความเจ็บป่วย และผู้ที่มีสุขภาพดี เป็นเทคนิคในการจัดการความเครียดที่มี ประสิทธิผล ดังนี้
1. Progressive Muscle Relaxation (PMR) เป็นเทคนิคในการลดความเครียดและวิตกกังวลโดยใช้การเกร็งผ่อนคลายกล้ามเนื้อ วิธีการคือให้บุคคลหลับตา เกร็งคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย โดยเริ่มทีละส่วนของร่างกาย จากขา ท้อง หน้าอก แขน และหน้าตามลำดับ ซึ่งในแต่ละส่วนร่างกายให้เกร็ง 10 วินาที แล้วผ่อนคลาย 20 วินาที ใช้เวลาประมาณครั้งละ 20-30 นาที ผลที่ได้รับ คือ ช่วยลดระดับคอร์ติซอลในน้ำลาย ลดวิตกกังวล ลดความดันโลหิต และการเต้นของหัวใจ ลดอาการปวดศีรษะ เป็นต้น
2. Autogenic Training (AT) เป็นวิธีการผ่อนคลายด้วยตนเอง โดยการสั่งร่างกายให้รู้สึกผ่อนคลาย และควบคุมการหายใจ แรงดันโลหิต การเต้น ของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย เป็นการฝึกที่ใช้
การจินตนาการและใช้คำพูด ที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกอบอุ่น หนัก และผ่อนคลาย บุคคลจะเรียนรู้แบบฝึก จากการอ่านหรือสังเกตครูฝึก จากนั้นฝึกปฏิบัติด้วยตนเองเป็นเวลาหลายๆ นาที หลายๆ ครั้งในแต่ละวัน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน ผลที่ได้รับ คือ AT ช่วยลดอาการไมเกรน ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และนอนไม่หลับ


3. Relaxation Response (RR) เป็นการใช้เวลาประมาณ 10-20 นาทีในแต่ละวัน ให้มีสมาธิจดจ่อกับคำพูด เสียง วลี บทสวด หรือ การเคลื่อนไหว ร่างกาย ซึ่งเมื่อเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย ร่างกายจะคืนสู่ภาวะปกติ ผลที่ได้รับ คือ สามารถลดความดันโลหิต เพิ่มการฟื้นฟูหัวใจ และลดอาการทางกาย
4. Biofeedback เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย โดยใช้เครื่องมือในการอ่านข้อมูลทางร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ และข้อมูลทางกายที่ได้จะช่วยให้บุคคลเรียนรู้ที่จะสังเกตและควบคุมการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เช่น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ Biofeedback เป็นวิธีการรักษาที่ประสบผลในการใช้กับอาการปวดศีรษะ การควบคุมความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวาน และโรคหัวใจ
5. Guided Imaging (GI) เป็นวิธีการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้บุคคลใช้การจินตนาการถึงภาวะสุขภาพ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับการใช้เทคนิคการผ่อนคลาย โดยจะมีการใช้เสียงบันทึก หรือใช้สคริปต์พูดประกอบการฝึก ใช้เวลา ประมาณ 4-8 สัปดาห์ วันละประมาณ 10 นาที ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ลด ความเครียด ลดอาการซึมเศร้า และใช้ในการรักษาร่วมกับการบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง การลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยสวนหัวใจ ความเครียดจากการผ่าตัด และใช้ในผู้ป่วยเปลี่ยนไขกระดูก เจ็บปวดจากมะเร็ง ผู้ป่วยหอบหืด และเด็กวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกิน
6. Diaphragmatic Breathing เป็นการหายใจโดยใช้การขยายตัวของท้องมากกว่าหน้าอก ซึ่งเป็นการกำหนดการเคลื่อนไหวของการหายใจที่จะนำไปสู่การตอบสนองทางร่างกาย เช่น ลดการใช้ออกซิเจน ลดชีพจร ลดความดันโลหิต เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่าวิธีการนี้ช่วยลดความอ่อนล้าจากการเปลี่ยนถ่ายเซลล์ ลดความวิตกกังวล และอาการหอบของเด็ก ลดความเครียดจากการไปพบทันตแพทย์ และใช้ในการจัดการเด็กวัยรุ่นที่ก้าวร้าว เป็นต้น
7. Transcendental Meditation เป็นวิธีการสอนโดยครูผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้บุคคลหลับตาและกล่าวคำ “มนตรา” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายสำหรับบุคคล เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้และเข้าสู่ภาวะตื่นรู้ ในระหว่างการฝึกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในการลดลงของกิจกรรมทางร่างกายและจิตใจจะช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของร่างกายให้กลับสู่ภาวะปกติ การปฏิบัติวิธีการนี้ใช้เวลา 20 นาที อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันจะช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง และมีสมาธิจดจ่อ
8. Cognitive Behavioral Therapy (CBT) เป็นวิธีการรักษาที่ ประกอบด้วยการประเมินการใช้เทคนิคปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ซึ่งผู้รับบริการจะต้องทำการบ้านตามที่ได้มอบหมายเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดที่ไม่มีเหตุผล ซึ่งจะช่วยให้บุคคลตระหนัก และเรียนรู้ที่จะปรับความคิดและความเชื่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการรักษาผู้ที่มีโรควิตกกังวล ซึมเศร้า และปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อ่อนล้า เป็นต้น
9. Mindfulness-Based Stress Reduction (MBSR) เป็นวิธีการอย่างมีระบบที่นำการเจริญสติมาจัดโปรแกรมกลุ่มเพื่อลดความทุกข์ทางร่างกาย และจิตใจโดยมุ่งให้บุคคลตระหนักรู้ อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีการ รับรู้ที่ถูกต้อง และชัดแจ้ง ลดอารมณ์ทางลบและเพิ่มพลังในการแก้ไขปัญหา วิธีการนี้ประสบความสำเร็จในการนำไปใช้กับผู้มีปัญหาทางอารมณ์จากการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ปวดเรื้อรัง มะเร็ง เป็นต้น รวมทั้งมีประสิทธิผลในการลดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
10. Emotional freedom Technique (EFT) เป็นการเคาะจุด 9 ตำแหน่ง พร้อมกับพูดคำที่มีความหมาย ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบทางอารมณ์ จากความจำหรือเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความทุกข์ทางจิตใจ เมื่อความทุกข์ทางจิตใจลดลง ร่างกายมักจะปรับสมดุลด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่าวิธีการนี้ นำไปสู่การลดความเจ็บปวด เพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหา ลดการบาดเจ็บทางอารมณ์ รวมทั้งการบาดเจ็บมาจากโรคหัวใจหลอดเลือด
จะเห็นได้ว่าเทคนิคการจัดความเครียดเหล่านี้เป็นเทคนิคที่ปลอดภัย และมีประสิทธิผล จึงสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปได้ทั้งผู้ที่มีความเจ็บป่วย และผู้ที่มีสุขภาพดี
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ที่มา : เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล คณะพยาบาลศาสตร์
โดย : อาจารย์ ดร.วไลลักษณ์ พุ่มพวง  ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เทคนิคการนำเสนอ MC ด้วย Infographic

ผู้แบ่งปัน 
ว่าที่ ร.อ. ภวัต ปั้นบำรุงกิตน์
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ









วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กินอาหารเช้าตามกรุ๊ปเลือด สุขภาพดีอย่างไม่น่าเชื่อ


สำนักงานคลังเขต 1
ผู้แบ่งปัน (เล่าให้ฟัง)
นางบุญนำ  คำไกล
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
คุณลิขิต (จด-ประมวล-กลั่นกรอง)
นางสุณี  มีแสงพราว
ตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
ความรู้เกี่ยวกับ : กินอาหารเช้าตามกรุ๊ปเลือด สุขภาพดีอย่างไม่น่าเชื่อ
มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน เราจึงต้องพิถีพิถันในการเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง แต่รู้หรือไม่ หากเราเลือกและเลี่ยงทานอาหารให้เหมาะกับกรุ๊ปเลือดของตัวเอง จะช่วยเสริมสร้างสมดุล
ที่ดีที่สุดและทำให้สุขภาพดีอย่างไม่น่าเชื่อเลย
กรุ๊ปเลือด A
คนกรุ๊ปเลือดA จะไม่ค่อยมีเอนไซม์และกรดในกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการย่อยโปรตีน
จากเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง จึงควรหันมาทานเนื้อสัตว์ ประเภทเนื้อปลาและเนื้อไก่แทน และเน้นทานอาหารประเภทโปรตีนให้มากขึ้นในมื้อเช้าและลดปริมาณลงในมื้อเย็น ที่สำคัญอย่าลืมเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเพื่อช่วยให้ระบบ
ย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นด้วย
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : ทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อไก่และเนื้อปลา เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน ปลากะพง เพราะย่อยง่ายเหมาะกับคนกรุ๊ปเอที่สุด
2.ผักผลไม้ : เน้นทานผักใบเขียวและใบเหลืองอย่างฟักทอง แครอท ผักโขม บร็อคโคลี่ และพืชตระกูลถั่วให้มากๆ โดยเฉพาะถั่วเหลืองซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูงและยังช่วยลดปัญหาเรื่องของ
กรดในกระเพาะอาหารต่ำอีกด้วย
3.เครื่องดื่ม : นมถั่วเหลือง นมแพะ หรือโยเกิร์ตไขมันต่ำ แทนนมวัวที่คนกรุ๊ปนี้ย่อยไม่ค่อยได้
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : อาหารสำเร็จรูปประเภทไส้กรอกหรือแฮมเพราะมีสารประกอบไนเตรทอยู่มาก สามารถกระตุ้น
การเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารซึ่งมีกรดในกระเพาะอาหารต่ำ และเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยและชีส ทำให้คนกรุ๊ปเลือดนี้แน่นท้องได้
2.ผักผลไม้ : แตงโม แคนตาลูป มะม่วง มะละกอ กล้วย ส้ม เพราะย่อยยาก
3.เครื่องดื่ม : นมวัวและโซดาทำให้กรุ๊ปเลือดเอรู้สึก แน่นท้องเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ส่วนชาสมุนไพรจะไปเพิ่มกรดในกระเพาะ
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวต้มไก่ ข้าวต้มปลากระพง ปลานึ่งเต้าเจียว แซนด์วิชสลัดปูอัด แซนด์วิชทูน่า น้ำใบเตย น้ำผักโขม น้ำนมข้าวโพด


กรุ๊ปเลือด B
กรุ๊ปเลือดที่แสนโชคดี เพราะ เป็นกรุ๊ปเดียวที่สามารถทานอาหารประเภท นมวัว เนย และไข่
ได้ตามปกติ ยกเว้น เนยแข็งรสเข้มเพราะจะย่อยยาก นอกจากนั้นยังทานเนื้อสัตว์ได้หลากหลาย และผัก ผลไม้
ก็ทานได้หลายชนิด โดนเฉพาะผักใบเขียว
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : เนื้อแกะ ไก่งวง และปลาน้ำลึก เช่น ปลาหิมะ ปลาจาระเม็ด ปลาตาเดียว ปลาแซลมอน และอาหารจำพวกนมเนยไข่ ให้ประโยชน์อย่างมากต่อกรุ๊ปเลือดบี
2.ผักผลไม้ : ผัก ผลไม้ให้ผลดีเกือบทุกชนิด ควรรับประทานมากผักมากๆ เพื่อป้องกันโรคที่มาจากเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นง่ายในคนกรุ๊ปเลือดบี
3.เครื่องดื่ม : ชาสมุนไพรที่ให้ประโยชน์คือ ขิง เปปเปอร์มิ้นต์ โสม ชาเขียว
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : หลีกเลี่ยง เนื้อหมู ไก่ หอยเชลล์ กุ้ง ปู หอยแครง เพราะจะรบกวนระบบในร่างกาย
2.ผักผลไม้ : หลีกเลี่ยงมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ ข้าวโพด เพราะมีเลคติคซึ่งไปก่อกวนระบบย่อย
ขัดขวางระบบเผาผลาญแคลอรีและระดับน้ำตาลในเลือด และถั่วต่างๆ ไม่ดีต่อคนกรุ๊ปเลือดบี โดยเฉพาะ
ถั่วลิสง
และงา ซึ่งจะรบกวนระบบอินซูลิน ที่จะทำให้เกิดการลดน้ำตาลในเลือดเฉียบพลัน
3.เครื่องดื่ม : หลีกเลี่ยงน้ำมะเขือเทศ น้ำข้าวโพด นมถั่วเหลือง
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวผัดกระเทียมห่อไข่ ไข่กระทะ สปาเกตตี้ซอสแดงใส่ไก่สับ ไข่ตุ๋นญี่ปุ่น แพนเค้กกล้วยหอม คอร์นเฟลก น้ำผลไม้
กรุ๊ปเลือด O
กระเพาะของคนกรุ๊ปเลือดโอมีความเป็นกรดสูง ทำให้เหมาะกับอาหารประเภทเนื้อแดงหลายชนิด แต่นมวัว และชีสแทบทุกชนิดจะย่อยยากสำหรับคนเลือดกรุ๊ปโอ ที่สำคัญที่สุดคือ ควรงดการรับประทานแป้งสาลี เพราะเลคติน ในแป้งสาลีจะทำปฏิกิริยาที่เป็นผลเสียและรบกวนระบบเผาผลาญของร่างกาย
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : ทานเนื้อได้แทบทุกชนิด เน้นปลาและอาหารทะเลเพิ่มแคลเซียมซึ่งร่างกายไม่ได้รับจากนมวัว และเพิ่มไอโอดีนเพื่อประโยชน์ของฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมักจะไม่คงที่
2.ผักผลไม้ : บร็อคโคลี่ สปินิช คะน้า สับปะรด พลับ พรุน ผักกาดคอส (ในซีซาร์สลัด) ปวยเล้ง บร็อคเคอลี หอมหัวใหญ่ และสาหร่ายทะเล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญอาหาร
3.เครื่องดื่ม : น้ำสับปะรด หรือน้ำแบลคเชอรี่ จัดว่าเป็นน้ำที่ดีกับเลือดกรุ๊ปโอมาก เพราะช่วยลดการระคายเคืองของกระเพาะ
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : หมู ห่าน แฮม นมและผลิตภัณฑ์จากนมให้บริโภคแต่น้อย เพราะร่างกายจะย่อยได้ยาก
2.ผักผลไม้ : ผักจากพวกกะหล่ำ ที่จะมีผลต่อระบบไทรอยด์ เห็ดหอม มะเขือยาว มันฝรั่งและข้าวโพดไม่ดีต่อกรุ๊ปเลือด ควรเลี่ยงส้มและเกรปฟรุต เพราะทำให้กระเพาะระคายเคือง
3.เครื่องดื่ม : กาแฟ จะเพิ่มกรดในกระเพราะอาหารที่มีมากอยู่แล้ว
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวผัดกระเทียม ข้าวต้มกุ้ง ผัดตำลึงปลาสับ น้ำสับปะรด น้ำแบลคเชอรี่ น้ำข้าวกล้องงอก
กรุ๊ปเลือด AB
คนกรุ๊ปเลือดเอบีเป็นพวกลูกผสมคล้ายกับกรุ๊ปเอ ตรงที่มีกรดในกระเพาะต่ำ ต้องรับประทานผักมาก ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เหมือนกรุ๊ป บี ตรงที่รับประทานเนื้อสัตว์ได้ ยกเว้นไก่แต่ต้องไม่บ่อยนัก สำหรับกรุ๊ปเอบี มะนาวช่วยย่อยและล้างระบบลำไส้ได้ แนะนำว่าควรเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยการดื่มน้ำอุ่นที่บีบมะนาวสักครึ่งซีก
อาหารที่ควรเลือก
1.เนื้อสัตว์ : อาหารทะเล เช่น ปลาเทราต์ ปลาซาร์ดีน ปลาเก๋า ปลาทูน่า สามารถกิน นม เนย ไข่และ
โยเกิร์ตไขมันต่ำได้
2.ผักผลไม้ : ผักสดกินได้แทบทุกชนิด สำหรับผลไม้นั้น องุ่น พลัม ตระกูลเบอร์รี่ สับปะรด ส้มโอ ช่วยสร้างความสมดุลของกรดในเนื้อเยื่อ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จะส่งผลดีต่อร่างกายในแง่ป้องกัน
3.เครื่องดื่ม : ชาคาโมมายล์และชาเขียวช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน
อาหารที่ควรเลี่ยง
1.เนื้อสัตว์ : อาหารสำเร็จรูปประเภทไส้กรอกและแฮมซึ่งมีสารประกอบไนเตรต์เช่นเดียวกับคนกรุ๊ป เลือดเอ และเลี่ยงทานเนื้อวัวเนื้อหมูและปลาแซลมอนรมควัน เพราะย่อยยากและเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร
2.ผักผลไม้ : ผลไม้เมืองร้อน เช่น มะม่วง กล้วย ฝรั่ง และมะพร้าว เพราะย่อยยาก ส่วนผลไม้ตระกูลส้มจะทำให้กระเพาะของคนกรุ๊ปนี้ระคายเคือง และงดทานถั่วแดง งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ข้าวโพด เพราะจะชะลอการทำงานของอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงเฉียบพลัน
3.เครื่องดื่ม : ไม่ควรบริโภค คาเฟอีนมากเกินไป เพราะจะไปกระตุ้นให้ร่างกาย หลั่งสารอะดรีนาลีน ซึ่งกรุ๊ปเลือดนี้มีมากอยู่แล้ว
มื้อเช้าที่แนะนำ
ข้าวต้มทะเล ข้าวไข่ข้นมะเขือเทศ เฟรนช์โทสต์ น้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ น้ำส้มคั้น